ผู้พิพากษา

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การสอบเป็นผู้พิพากษา


การสอบเข้าเป็นผู้พิพากษาในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา มีวิธีการคัดเลือกอยู่ 3 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการสอบแตกต่างกันออกไป คือ

การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)

จะมีการเปิดสอบเป็นคราว ๆ ไป โดยสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่แจกใบสมัคร ส่งไปตรวจร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ดำเนินการสอบ ประกาศผลสอบ และบรรจุเข้ารับราชการ

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก

ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้

หลักฐานในการสมัครสอบ

1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)

กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8

การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน

วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน

วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ

วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ

ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

วิชาชีพทางกฎหมายที่ ก.ต. รับรอง

1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
12. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
13. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร

นิติกรในสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรองไปแล้ว

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน)
3. ตำแหน่งเสมียน ธนาคารไทยทนุ จำกัด
4. ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. ตำแหน่งงานนิติกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารทหารไทย จำกัด
7. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
8. ตำแหน่งนิติกร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
9. ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง แผนกธุรกรรมกฎหมาย
10. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
11. ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)
12. เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา บริษัท เงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
13. ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี จำกัด (มหาชน)
14. เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
15. นิติกรอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์


ชื่ออาชีพ
ผู้พิพากษา Judges
รหัสอาชีพ
1-22.20 (TSCO) 2421 (ISCO)
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้มีอำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงใน พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ลักษณะของงานที่ทำ
ตรวจคำคู่ความซึ่งยื่นต่อศาลเพื่อสั่งรับ หรือไม่รับ หรือให้ทำใหม่ หรือให้แก้ไขเพิ่มเติม
ควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ออกข้อกำหนด เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเที่ยงธรรม และรวดเร็ว ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา
ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่นหรือออกคำสั่งใดๆ
ไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง หรือคำขอ
ไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญา ไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน
นั่งพิจารณาคดี และควบคุมการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ตรวจบุคคล วัตถุสถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ใช้ดุลยพินิจวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง
พิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีทั้งทางแพ่ง และทางอาญาโดยยุติธรรมตามกฎหมาย
บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ทำรายงานการคดี และกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่น ให้เป็นไปโดย ถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
อาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่างประเภทกันตามประเภทของศาล
สภาพการจ้างงาน
ได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษาก่อนผู้ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก
ผู้ประกอบอาชีพผู้พิพากษา จะมีบัญชีอัตราเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ แตกต่างตามประเภทศาล และตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาจะมีอัตราเงินเดือน 14,850 - 16,020 บาท
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา(ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 - 57,190 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคถึงประธานศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา จะมีอัตราเงินเดือน 64,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจจะต้องเข้าเวรในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด เพื่อทำหน้าที่ ลงนามคำสั่งในหมายศาล ในกรณีที่ต้องดำเนินทันทีไม่สามารถรอจนถึงวันทำการได้
สภาพการทำงาน
ผู้พิพากษามีห้องทำงานที่มีสภาพเหมือนห้องทำงานทั่วไป และเมื่อต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความ จะต้องนั่งบังลังก์ปฏิบัติหน้าที่พิพากษา เป็นประธานในห้องตัดสินคดีความ
อาชีพผู้พิพากษา อาจจะต้องปฏิบัติงานประจำศาลในต่างจังหวัด โดยเฉลี่ยจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3-4 ปีในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบ้านพักผู้พิพากษาประจำในทุกจังหวัด หรืออาจจะปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้พิพากษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบรูณ์ เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิตยสภาจากสำนักเนติบัณฑิตยสภา
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตามพระราช-บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 นั้น บุคคลผู้ประสงค์จะเข้า รับราชการเป็นผู้พิพากษามีได้ 3 ทางคือ
1. สมัครสอบคัดเลือก ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. สมัครทดสอบความรู้ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ผู้ที่จะเข้าเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวข้างต้น ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26 กำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่นต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐ เป็นต้น และสำหรับผู้สอบคัดเลือกตามข้อ1 ต้องมีคุณวุฒิ และได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจาก ต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และ
3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็น จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือพนักงานคุมความประพฤติของศาลยุติธรรม พนักงานอัยการ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ทนายความ หรือประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ตามที่ ก.ต.กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งนี้ให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนด เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้นๆ ด้วย
หลักเกณฑ์ และวิธีการสมัครสอบคัดเลือก ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 27)
ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามข้อ 2 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพดังต่อไปนี้
1. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
2. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรเดียว ไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.ต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือสอบได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง
ข. สอบไล่ได้ปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ตามมาตรา 27 (3) (ประกอบวิชาชีพเป็นจ่าศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี)
ค. สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(3) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ง. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตชั้นเกียรตินิยม และได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์ใน คณะนิติศาสตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
จ. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรู้ความสามารถดี และมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการได้
ฉ. สอบไล่ได้ปริญญาโท หรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.ต. กำหนด และเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27 (3) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
ช. สอบไล่ได้ปริญญาตรี หรือที่ ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.ต.กำหนดและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้น และเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต
ให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (2) (จ) (ฉ) และ (ช) ด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 28) ส่วนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. เป็น หรือเคยเป็นศาสตราจารย์ หรือ รองศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ข. เป็น หรือเคยเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
ค. เป็น หรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
ง. เป็น หรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
3. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายตามที่ ก.ต.กำหนด
4. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีบุคลิกภาพ มีความประพฤติ และทัศนคติเหมาะสมแก่ การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ
หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกพิเศษ ให้ ไปตามระเบียบที่ ก.ต.กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 29)
โอกาสในการมีงานทำ
ตำแหน่งผู้พิพากษาถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนพลเมือง และทำงานในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ มีบัลลังก์นั่งสูงกว่าข้าราชการธรรมดา แม้ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนผู้พิพากษามากขึ้น อีกทั้งฐานะในทางสังคม และเกียรติภูมิของข้าราชการฝ่ายอื่น ตลอดจนพ่อค้านักธุรกิจสูงขึ้น แต่ตำแหน่งผู้พิพากษาก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้นผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ดังนั้นกิจการบางอย่างซึ่ง ขัดกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลาง หรือความเป็นธรรม เช่น รับปรึกษาคดีให้บุคคลทั่วไป หรือรับทำงานนอกเวลาหารายได้พิเศษเลี้ยงครอบครัว แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อมีความชำนาญ และประสบการณ์จะสามารถได้รับการเลื่อนขั้น ตำแหน่งตามสาย-งานไปได้จนถึงตำแหน่งบริหารของข้าราชการตุลาการ ประธานศาลฎีกา
การประกอบการอื่นเพื่อหารายได้พิเศษ แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ เนื่องจากผู้พิพากษาต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ควรทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรม และสำหรับอาชีพนี้อัตราเงินเดือนจัดได้ว่าสูงกว่าข้าราชการสังกัดอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้เหมาะสมกับภาวะสังคม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ทนายความ ที่ปรึกษาทางกฏหมาย นิติกร อาจารย์มหาวิทยาลัย






จริยธรรมผู้พิพากษา

เ ดิมมีเพียงธรรมเนียมปฏิบัติในการวางตัวของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเท่านั้น สิ่งใดกระทำได้ สิ่งใดกระทำไม่ได้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อๆ กันมา เพราะผู้พิพากษาในประเทศ มีเพียงจำนวนน้อย ต่อมาจำนวนผู้พิพากษาได้เพิ่มขึ้น ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา บางอย่าง ก็มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพราะการเปลี่ยนแปลง ของสังคมภายนอก ทำให้การปฏิบัติตัว ของผู้พิพากษา บางครั้ง มองดูแล้ว ไม่เหมาะสมบ้าง ที่ประชุมคณะกรรมการ ตุลาการครั้งที่ ๖/๒๕๒๗ เห็นว่า ผู้พิพากษาบางท่าน ประพฤติตนในบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งที่ประชุมยังโต้เถียงกันอยู่ว่า การกระทำดังกล่าวนั้น เหมาะสมหรือไม่ เพราะยังไม่มีกฏเกณฑ์วางไว้ เป็นที่แน่นอน ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า น่าจะมีระเบียบ หรือคำแนะนำ หรือมีการวางแนวปฏิบัติไว้ ให้ผู้พิพากษาประพฤติ เพราะแม้จะมีวินัย อยู่ในกฎหมายว่า ด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ก็เป็นเพียงกา รวางหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ บางเรื่องยังคลุมไปไม่ถึง และบางเรื่อง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่ได้เขียนไว้ จึงตั้งคณะกรรมการ วางหลักเกณฑ์ เรียกว่า ประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการขึ้น ซึ่งในด้านจริยธรรม เกี่ยวกับกิจการอื่น และเกี่ยวการดำรงตน และครอบครัวนั้น ได้บัญญัติไว้ทั้งหมด ๑๖ ข้อ ซึ่งจะนำมาให้ดู ดังต่อไปนี้

๑. ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ
ผู้จัดการ ที่ปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งอื่นใด ในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจของเอกชน เว้นแต่เป็นกิจกรรม ที่มิได้แสวงหากำไร ผู้พิพากษาจักต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๒. ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้ปฏิบัติ หน้าที่อันเกี่ยวกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นได้ ในเมื่อการปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้อง ได้รับอนุญาต จากกระทรวงยุติธรรม แล้ว

การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ในทำนองเดียวกัน จักต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ต.ด้วย

ผู้พิพากษา ไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๓. ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสร ชมรม หรือ องค์การใดๆ หรือเข้าร่วม ในกิจการใด ๆ อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือ เกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๔. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิต หรือเกี่ยวพัน ทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษา ถือเป็นญาติสนิท มีส่วนได้เสียในมรดก หรือทรัพย์นั้นโดยตรง

๕. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท

๗. ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ

๘. ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง และจักต้อง ไม่เข้าเป็น ตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุน ในการโฆษณา หรือชักชวนใดๆ ในการ เลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทน ทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใด นอกจาก การใช้สิทธิ เลือกตั้ง

๙. ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตน อย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรม และประเพณีอันดีงาม ของตุลาการ ทั้งพึงวางตน ให้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป

๑๐. ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ และพึงขวนขวายศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในวิชาชีพ ตุลาการ และ ความรู้รอบตัว ผู้พิพากษาจักต้อง ไม่ก้าวก่าย หรือแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ จาการ ปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษาอื่น

๑๑. ผู้พิพากษาจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัว ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือ ของผู้อื่น และจักต้อง ไม่ยินยอมให้ผู้อื่น ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์ อันมิชอบ

๑๒. ผู้พิพากษาพึงยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจักต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีชอบ หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบ จากผู้บังคับบัญชา หรือ จากบุคคลอื่นใด

๑๓. ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพ หรือการงานอื่นใดของ คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคล ซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตน มีลักษณะเป็นการ กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความเชื่อถือศรัทธา ของบุคคลทั่วไป ในการประสาทความยุติธรรม ของผู้พิพากษา

๑๔. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ จากคู่ความ หรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่อง กับการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษา และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย

๑๕. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์ อื่นใดอันมีมูลค่า เกินกว่า ที่พึงให้กัน ตามอัธยาศัย และประเพณีในสังคม และจักต้องดูแล ให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียว กันด้วย

๑๖. ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือ ผลประโยชน์ เกี่ยวข้อง กับคดีความ หรือบุคคล ซึ่งมีความประพฤติ หรือมีชื่อเสียง ในทางเสื่อมเสีย อันอาจจะกระทบกระเทือน ต่อความเชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป ในการประสาท ความยุติธรรม ของผู้พิพากษา ต่อมาได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน จึงได้มีการแก้ไข ประมวลจริยธรรม ใหม่ขึ้น ตามประมวลจริยธรรมฉบับใหม่นี้ ท่านประธานศาลฎีกา มีอำนาจ ออกคำแนะนำ ในการดำรงตน ของผู้พิพากษา ซึ่งท่านประธานศาลฎีกา ได้ให้ความกรุณา ออกคำแนะนำ ให้การดำรงตน ของผู้พิพากษาไว้ ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวนี้ ผู้เขียนมีความรู้สึก ชื่นชมต่อ ท่านประธานศาลฎีกา เป็นอย่างยิ่ง เพราะมีหลายข้อ ที่ผู้เขียน เคยตะขิดตะขวงใจ หรือลำบากใจ ในการวางตัว และไม่แน่ใจว่า สิ่งดังกล่าวนั้น เหมาะสม และ สมควร ในการดำรงตน ของผู้พิพากษาหรือไม่ เพื่อท่านได้ออกกำหนดมาชัดเจนเช่นนี้ ย่อมเป็นผลดีต่อ ผู้พิพากษา และผลดี ต่อประชาชน และประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง ดังคำแนะนำขอท่าน ที่นำมาให้ลงไว้นี้

คำแนะนำของประธานศาลฎีกา
เกี่ยวกับการดำรงตนในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ ตามประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔
เพื่อให้การดำรงตน ในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นสมควร ให้คำแนะนำ ในโอกาสต่างๆ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามประมวลจริย-ธรรมจาก ราชการตุลาการ ไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑. การตรวจราชการ
(๑) ผู้ตรวจราชการควรคำนึงถึงความจำเป็น ในการไปตรวจราชการ และระมัดระวังเกี่ยวกับความประหยัด ในการต้อนรับ และระยะเวลา ที่ผู้รับการตรวจ ต้องใช้ในการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ

(๒) ผู้ตรวจราชการ ควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น และ ให้มีจำนวนน้อยที่สุด

(๓) ผู้ตรวจราชการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการไปตรวจราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ เช่น ค่ายานพาหนะ ค่าที่พักและเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น

(๔) ผู้ตรวจราชการควรงดเว้นการรับการอำนวยความสะดวกในทุกด้าน ที่เกินความรับผิดชอบตามปกติ ของผู้รับการตรวจ

(๕) ผู้รับการตรวจพึงอำนวยความสะดวก ตามสมควรแก่ผู้ตรวจราชการ และงดเว้นการยืมยานพาหนะ จากบุคคลภายนอก การเกณฑ์ผู้คน มาให้การต้อนรับ และงดเว้นการจัดหา ของที่ระลึก ของขวัญ หรือ สิ่งของอื่นใด มอบให้แก่ผู้ตรวจราชการ และคณะ

(๖) ผู้รับการตรวจพึงรอต้อนรับผู้ตรวจราชการอยู่ภายในที่ตั้งของตน งดเว้นการไปรอรับจากจังหวัดอื่น หรือตามไปส่งยังจังหวัดอื่น

(๗) การไปสัมมนาของหน่วยงานราชการ ให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ พึงปฏิบัติ เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น

ข้อ ๒. การเดินทางไปรับตำแหน่งและการเดินทางไปเพื่อภารกิจส่วนตัว
(๑) ผู้เดินทางไปรับตำแหน่งควรคำนึงถึงจำนวนคนที่จะร่วมเดินทางไป พึงงดเว้นการชักชวน หรือยอม ให้บุคคลอื่น ติดตามไปส่ง เป็นจำนวนมาก และไม่ควรให้เป็นภาระ แก่ผู้ให้การต้อนรับ และพึงรับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง รวมรวมตลอดทั้งค่าอาหาร และค่าที่พัก ของผู้ร่วมเดินทาง ไปส่งเอง

(๒) ศาลที่ผู้เดินทางไปรับตำแหน่งพึงให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้เดินทาง มารับตำแหน่ง เช่นจัดให้เข้าที่พัก ของทางราชการ และอำนวยความสะดวก ในสิ่งอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ ผู้เดินทาง มารับตำแหน่ง รู้สึกอบอุ่นใจ และเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อกันตามสมควร

(๓) การเดินทางไปเพื่อภารกิจส่วนตัว ผู้เดินทางไม่ควรรบกวน ข้าราชการในพื้นที่

ข้อ ๓. การจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
๑ ข้าราชการตุลาการพึงงดเว้นการชักชวนหรือสนับสนุนให้มีการเดินทางไปอวยพร หรือจัดเลี้ยง ในโอกาส ต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิด หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เว้นแต่เป็นการกระทำกัน ภายในหมู่ญาติมิตร หรือเฉพาะ ในหน่วยงานของตนเอง โดยมิได้รบกวน บุคคลภายนอก หรือ ให้บุคคล ภายนอกมาร่วมจัดงาน

(๒) ข้าราชการตุลาการพึงงดรับของขวัญ ของมีค่า ของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลอื่น

(๓) ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงงดเว้นการเดินทางไปอวยพร ผู้บังคับบัญชา เว้นแต่เป็นการกระทำกัน ภายใน หน่วยงานนั้นเอง ข้าราชการ ซึ่งอยู่ต่างท้องที่ หรืออยู่ห่างไกล หากประสงค์ จะอวยพร ควรใช้บัตรอวยพร ทางไปรษณีย์แทน

การจะพิจารณาว่า ผู้พิพากษาท่านใด ดำรงตนได้เหมาะเพียงใดหรือไม่ ก็คงจะใช้ประมวลจริยธรรม และ คำแนะนำ ของท่าน ประธานศาลฎีกา ดังกล่าวนี้ เป็นบรรทัดฐาน ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากกฎหมาย จารีต ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติกันมาแล้ว สำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่น จะมีประมวล จริยธรรม ของตนเอง หรือมีคำแนะนำ ข้อปฏิบัติ ของหัวหน้า ส่วนราชการอย่างไรนั้น ก็เป็นของ แต่ละหน่วยงาน เห็นเหมาะสม และสมควร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ของประชาชน และความน่าเชื่อถือ ของบุคลากร ของหน่วยงานนั้นๆ

Read more...

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
ภาคกลาง
1. อาณาจักรทวารวดี
2. อาณาจักรละโว้
ภาคใต้
1. อาณาจักรศรีวิชัย
2. อาณาจักรตามพรลิงก์
ภาคอีสาน
1. อาณาจักรฟูนาน
2. อาณาจักรขอม
ภาคเหนือ
1. อาณาจักรหริภุญชัย
2. แคว้นโยนก
3. แคว้นเงินยางเชียงแสน
ยุคสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ยุคสมัยล้านนา

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล

ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย

การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้

อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

ยุคสมัยกรุงธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง

* การปกครองส่วนกลาง
o ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
o ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา

* การปกครองหัวเมืองชั้นใน
o หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
o หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
o หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้เเก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

Read more...

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
ภาคกลาง
1. อาณาจักรทวารวดี
2. อาณาจักรละโว้
ภาคใต้
1. อาณาจักรศรีวิชัย
2. อาณาจักรตามพรลิงก์
ภาคอีสาน
1. อาณาจักรฟูนาน
2. อาณาจักรขอม
ภาคเหนือ
1. อาณาจักรหริภุญชัย
2. แคว้นโยนก
3. แคว้นเงินยางเชียงแสน
ยุคสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ยุคสมัยล้านนา

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล

ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย

การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้

อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

ยุคสมัยกรุงธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง

* การปกครองส่วนกลาง
o ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
o ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา

* การปกครองหัวเมืองชั้นใน
o หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
o หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
o หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้เเก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

Read more...