หมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้

ตามประเพณีไทยแต่โบราณ นิยมให้คู่รักทั้งหลายหมั้นหมา่ยกันสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแต่งงานกัน เพื่อให้ทั้งสองได้เรียนรู้ ศึกษานิสัยใจคอ และปรับตัวเข้าหากัน ก่อนแต่งงาน

สำหรับในปัจจุบันนิยมรวบวันหมั้น กับวันแต่งไว้ในวันเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และยังไม่ต้องรบกวน ให้แขกเดินทางหลายครั้งอีกด้วย

ในงานหมั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ขันหมากหมั้น เปรียบได้กับหนังสือสัญญา ระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย ส่วนเหตุที่ต้องใช้ หมาก เป็นตัวแทนของหนังสือสัญญาก็เพราะ ในสมัยก่อนหมากพลู เปรียบเสมือนสิ่งที่แสดงความเคารพ และเป็นของต้อนรับแขก เพื่อสื่อถึงความยินดีและแสดงออกถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ขันหมากแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.ขันหมากเอก คือ ขันสำหรับใส่หมากพลู วางบนพานรองจะเป็นเงิน ทอง นาก ทองเหลือง หรือถมเงิน แล้วแต่ฐานะของฝ่ายชาย แต่ต้องจัดขันเป็นคู่ๆ ในขันหมากหมั้นประกอบด้วยหมาก 8ใบ ใบพลู 4 เรียง เรียงละกี่ใบก็แล้วแต่ ตกแต่งเพิ่มด้วยใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบรัก ใบสวาด มีถุงแพรและถุงผ้าโปร่งบรรจุเมล็ดถั่วงา ข้าวเปลือก สื่อความหมายถึงความงอกงาม อุดมสมบูรณ์เรียงอยู่ในขัน ตกแต่งของทุกอย่างให้สวยงาม แล้วใช้ใบตองสานเป็นกรวยสูงครอบ จากนั้นห่อด้วยผ้าโปร่งสีทอง สีเงิน ผ้าแก้ว หรือผ้าลูกไม้ ตามฐานะของฝ่ายชาย เพื่อกันของในขันหล่นเสียหายเวลายกขบวนขันหมากไปบ้านฝ่ายหญิง

สำหรับของหมั้นที่ฝ่ายชาย ยกไปหมั้นฝ่ายหญิงนั้น ประกอบด้วย 2 อย่าง คือ สินสอด หรือที่โบราณเรียกอีกอย่างว่า ค่าน้ำนม ซึ่งเป็นเงินหรือสิ่งของที่ฝ่ายหญิงเป็นที่กำหนด นิยมเรียกให้สมฐานะของฝ่ายหญิง ยิ่งมากยิ่งเป็นหน้าเป็นตาว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงเลี้ยงดูลูกดี ฝ่ายชาย จึงยอมเสียสินสอดจำนวนมาก เพื่อให้ได้ลูกสาวบ้านนี้เป็นคู่ครอง ซึ่งในปัจจุบันเงินสินสอด ส่วนใหญ่พ่อแม่ฝ่ายหญิง มักจะมอบเป็นเงินก้นถุง เพื่อเริ่มต้นในการใช้ชีวิตคู่

ของหมั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือ ทองคำ ด้วยคุณค่าและราคาที่แสนแพงของทองคำ ทำให้เป็นที่นิยมใช้ในการหมั้นหมายมาตั้งแต่โบราณ จนเรียกกันติดปากมาถึงทุกวันนี้ว่า ทองหมั้น แต่ในปัจุบันอาจมีเครื่องประดับเพชรขึ้นมาก็ได้

สินสอดทองหมั้น จะวางในพานต่างหาก แยกกับพานขันหมาก จะมีกี่พานก็ได้แล้วแต่ฐานะ ของฝ่ายชาย ปัจจุบันนิยมมีพานแหวนหมั้นเพิ่มมากขึ้นอีกหนึ่งพาน พานทั้งสอง นิยมใช้ใบเงินใบทอง ใบนาคหรือใช้ดอกรักตกแต่งก็ได้ เพื่อสื่อถึง ความรักที่ฝ่ายชายมีต่อฝ่ายหญิง และถ้ามีการแต่งงาน วันเดียวกับวันหมั้น ต้องเพิ่มพานผ้าให้ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้พ่อแม่ในขบวนขันหมากเอกด้วย

2.ขันหมากโท เป็นชื่อเรียกของเครื่องประกอบขันหมากที่อยู่ในขบวนขันหมาก ประกอบด้วยขนมมงคล 9 อย่างคือ จ่ามงกุฏ สื่อถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เสน่ห์จันทร์เพื่อความมีเสน่ห์และความเป็นที่รักแก่ผู้พบเห็น ขนนกงสำหรับความรักที่ยั่งยืน ขนมชั้นเพื่อความก้าวหน้าที่เป็นปึกแผ่น ขนมถ้วยฟูสื่อถึงการทำกิจการค้าเจริญรุ่งเรือง ฝอยทองเพื่อชีวิตที่ยืนยาว ทองหยิบ และทองหยอด สื่อถึง การหยิบจับ และหยิบวางอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง อย่างสุดท้าย คือเม็ดขนุน สื่อถึงการสนับสนุน จากคนรอบข้างเพื่อความก้าวหน้า ในบางครั้ง อาจมีลูกชุบเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง เพื่อสื่อถึงการมีลูกหลานสืบสกุล นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วย และต้นอ้อยสื่อถึง ความหวานของชีวิตคู่ และการมาลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

สำหรับของที่เพิ่มขึ้นในกรณีแต่งงานวันเดียว กับวันหมั้นก็คือ อาหารคาวที่ยังไม่สุก เพื่อใช้เป็น เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษ หลังจากเสร็จพิธีจึงนำของเหล่านี้มาทำเป็นอาหาร

ขบวนขันหมากหมั้น ที่ฝ่ายชายยกไปบ้านฝ่ายหญิง นำขบวนด้วยเถ้าแก่ของฝ่ายชาย ซึ่งนิยมใช้คู่สามีภรรยา ที่อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ตามด้วยพ่อแม่ฝ่ายชาย ถัดไปเป็นขันหมากเอก นิยมใช้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และยังไม่หย่า ต่อด้วยสินสอดทองหมั้น ที่นิยมใช้หญิงสาว ที่เป็นญาติพี่น้องมาช่วยถือ ตามด้วยพานขนมมงคล และปิดท้ายด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย

เมื่อขบวนขันหมากมาถึงหน้าบ้าน ลูกหลานของฝ่ายหญิงจะช่วยกันขึงเข็มขัดทอง เงิน นาคหรือสายสร้อยอื่นๆ มากั้นขวางไม่ให้ฝ่ายชายยกขบวนเข้าไปง่ายๆ เถ้าแก่ของฝ่ายชาย ต้องควักห่อเงิน ที่เตรียมไว้เป็นรางวัลค่าเปิดที่กั้นประตูก่อนจึงเข้าไปได้

เมื่อผ่านครบทุกประตูแล้ว จะมีเด็กสาว ของฝ่ายหญิง นำพานรับขันหมาก มาให้เป็นการต้อนรับขบวนของฝ่ายชาย ซึ่งในพาน จะประกอบไปด้วยหมากพลู บุหรี่หรือยาเส้น เถ้าแก่ของฝ่ายชาย เลือกของเพียงชิ้นเดียว ในพานมาเขี้ยวหรือรับไว้พอเป็นพิธี จากนั้นจึงนำขันหมาก ที่ตั้งในที่ที่ทางฝ่ายหญิงจัดเตรียมไว้ แล้วนำสินสอดทองหมั้นปิดท้ายด้วยการให้ฝ่ายชายสวมแหวนให้ฝ่ายหญิง

พิธีรับไหว้

หลังจากนับสินสอดทองหมั้น กันพอหอมปากหอมคอ และเสร็จจากการสวมแหวนแล้ว จึงเข้าสู่พิธีรับไหว้ ซึ่งเป็นประเพณี ที่แสดงถึงความคารวะนอบนอบ ต่อพ่อแม่และผู้ใหญ่ ่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ที่มีีีพระคุณ คู่หมั้นคู่หมายนำพานดอกไม้ธูปเทียนแพคลานเข้าไปกราบผู้ใหญ่โดย ไล่เลียงลำดับจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา จะแค่ก้มหัวยกมือไหว้กราบบนตักหรือ กราบบนเท้าก็ได้ จากนั้นส่งพานธูปเทียนแพให้พ่อแม่รับ ให้พร และมอบเงินก้นถุงแก่ทั้งคู่ ในสมัยโบราณหลังจากรับพร จากพ่อแม่แล้วคู่หมั้น อาจมอบผ้าไหมให้แก่พ่อแม่ตัดชุดสำหรับ ใส่ในวันแต่งงานด้วย

พิธีสงฆ์

ตามธรรมเนียมโบราณเมื่อถึงวันงาน บ่าวสาวจะต้องร่วมกันตักบาตรตอนเช้าก่อนโดยนิยม ให้คู่บ่าวสาวตักบาตร ด้วยทัพพีเดียวกันด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน และจะได้เกิดมา เป็นคู่กันทุกชาติ และมีความเชื่อว่า ถ้าฝ่ายใดจับทัพพีเหนือกว่า จะเป็นใหญ่หรือมีอำนาจมากกว่า วิธีแก้เคล็ดคือ ให้ผลัดกันจับจะได้มีชีวิตคู่ที่อยู่บน ความเท่าเทียมและช่วยกันประคองกันไปตลอด

แต่ในปัจจุบันนี้มีการดัดแปลง เรื่องของพิธีสงฆ์บ้างเพื่อให้ประหยัดเวลา และสะดวกแก่คู่บ่าวสาว ด้วยการนำพระสงฆ์มาสวด เจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านเพื่อให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว

หลังจากพิธีรับไหว้ บ่าวสาว่ร่วมกันจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธ จากนั้นอารธนาศีล รับศีล พระสงฆ์สวดให้พรบ่าวสาว จากนั้นบ่าวสาวช่วยกันถวายอาหารแด่พระพุทธ แล้วประเคนอาหารแด่พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดเพื่อทำน้ำมนต์ บ่าวสาวร่วมกันกรวดน้ำ ถวายไทยธรรมจากนั้นพระสงฆ์เดินทางกลับ

การนิมนต์พระมาสวดพระพุทธมนต์ เมื่อนับพระประทานแล้วต้องเป็นจำนวนคู่อย่างเช่น พระสงฆ์ 3 รูป รวมพระประทานด้วยเป็น 4 หรือพระสงฆ์ 9 รูปรวมพรประทานด้วยเป็น 10

รดน้ำสังข์

พิธีรดน้ำสังข์เปรียบได้กับ การอวดพรความสุข แก่คู่บ่าวสาว โดยใช้น้ำมนต์จากพระสงฆ์จาก การสวดพระพุทธมนต์ช่วงเวลาของ การรดน้ำสังข์ไม่จำเป็นต้องทำหลังจากการสวด พระพุทธมนต์เสมอไป เพราะหลักใหญ่ใจความ ของการรดน้ำสังข์อยู่ที่น้ำมนต์ที่รดใส่มือบ่าวสาวพร้อมคำอวดพรจากผู้ใหญ่ ดังนั้นจะเก็บพิธีนี้ไว้ในช่วงเย็นก่อนงานเลี้ยงก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดประเพณีแต่อย่างใด แต่เพื่อความสะดวก และความเป็นศิริมงคลมักนิยมทำต่อจากพิธีสงฆ์หลังจาก พระสงฆ์์ื์ฉันภัตตราหารเสร็จและคู่บ่าวสาวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแล้วโดยให้พระสงฆ์ผู้เป็น ประธานเจิมหน้าผากให้ฝ่ายช่ายก่อนแล้วจึงจับมือฝ่ายชายจุ่มแป้งแล้วจับมาเจิมหน้าผากของ ฝ่ายหญิงอีกทีหรือถ้าจัดพิธีรดน้ำสังข์ตอนเย็นให้พระเจิมหน้าผากก่อนท่านกลับก็ได้จากนั้น ให้บ่าวสาวนั่งบนตั่งรดน้ำที่จัดไว้ฝ่ายหญิงนั่งทางซ้าย่ของฝ่ายชายสวมมงคลแฝดให้บ่าวสาว คนละข้างจัดเพื่อนสาว ที่ยังโสดและมีโครงการจะแต่งงาน ในเร็ววันมายืนอยู่ข้างหลังเป็นกำลังใจ
จริงๆ แล้วเรื่องเพื่อนบ่าวสาว เป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ต้องการ ให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังแต่งงานได้มีโอกาสศึกษาวิธีปฏิบัติของการจัดงานแต่งงาน เมื่อถึงวันของตัวเองจะได้ทำถูกและไม่เคอะเขิน

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอวยพรและรดน้ำสังฆ์แก่บ่าวสาวได้ต้องเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่าบ่าวสาวเท่านั้นโดยให้เกียรติพ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นคนรดน้ำสังฆ์ก่อน คำอวยพรที่นิยมกันมากขณะรดน้ำสังฆ์คือ ขอให้อยู่กันจดแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง เวียนจดครบหมดทุกคนแล้วจึงเสร็จพิธี จากนั้นต่อด้วยงานเลี้ยงฉลอง

พิธีปูที่นอนและส่งตัวเข้าหอ

เป็นพิธีที่โรแมนติกและประทับใจที่สุดในขั้นตอนการแต่งงานเพราะเป็นพิธีสุดท้าย และเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของคู่แต่งงาน ส่วนใหญ่กฤษ์ของพิธีจะเป็นเวลากลางคืน จึงมักทำหลังงานเลี้ยงฉลอง

เริ่มจากคู่สามีภรรยาที่แต่งงานอยู่กินกันมาจนแก่เฒ่า มีฐานะดี มีลูกหลานดีเลี้ยงง่าย อยู่ในโอวาท และยังไม่มีใครเสียชีวิตมาปูที่นอน จัดหมอน จัดผ้าห่ม และจัดวางสิ่งขอวที่เป็นมงคลสำหรับการใช้ชีวิตคู่บ่าวสาว ตามคติคำอวยพรจากโบราณที่ว่า ขอให้เย็นเหมือนฟักหนักเหมือนแฟง ให้อยู่ในเรือนเหมือนก้อนเส้า (หินบดยา) เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว ซึ่งประกอบด้วยหินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้สีขาวทาแป้งและเครื่องหอมไว้ทั้งตัว ปัจจุบันใช้เป็นตุ๊กตาแมวสีขาวก็ได้ นอกจากนั้นมีถั่ว งา ข้าวเปลือก อีกอย่างละหยิบมือห่อใส่พาน วางบนเตียง เมื่อถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ให้ทั้งสองขึ้นไปนอนบนเตียง ให้ฝ่ายหญิงนอนทางซ้ายของฝ่ายชายทำท่าหลับแล้วตื่นขึ้นมาว่าฝันดีอย่างนู้นอย่างนี้ พูดถึงแต่เรื่องดีเป็นมงคลแล้วลงมาจากเตียง

จากนั้นเป็นขั้นตอนของการส่งตัวเจ้าสาวโดยพ่อแม่ของฝ่ายหญิงพาลูกสาวไปส่งให้ฝ่ายชายในห้อง แล้วพูดฝากฝั่งให้ดูแลลูกสาวตนและอบรมให้ลูกสาวเป็นแม่บ้านแม่เรือน จากนั้นพ่อแม่ฝ่ายชายเข้ามาอบรมให้เป็นพ่อบ้านพ่อเรือนดูแลภรรยาให้ดีมีความสุขจากนั้นพากันออกจากห้อง ปล่อยให้บ่าวสาวอยู่ในห้องตามลำพังจนถึงเช้า

อ้างอิงจาก : หนังสือ We ฉบับวันที่ 20-24 มิถุนายน 2550

งานแต่งงาน พิธีมงคลสมรส

0 ความคิดเห็น: