ผู้พิพากษา

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การสอบเป็นผู้พิพากษา


การสอบเข้าเป็นผู้พิพากษาในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา มีวิธีการคัดเลือกอยู่ 3 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการสอบแตกต่างกันออกไป คือ

การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)

จะมีการเปิดสอบเป็นคราว ๆ ไป โดยสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่แจกใบสมัคร ส่งไปตรวจร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ดำเนินการสอบ ประกาศผลสอบ และบรรจุเข้ารับราชการ

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก

ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้

หลักฐานในการสมัครสอบ

1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)

กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8

การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน

วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน

วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ

วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ

ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

วิชาชีพทางกฎหมายที่ ก.ต. รับรอง

1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
12. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
13. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร

นิติกรในสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรองไปแล้ว

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน)
3. ตำแหน่งเสมียน ธนาคารไทยทนุ จำกัด
4. ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. ตำแหน่งงานนิติกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารทหารไทย จำกัด
7. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
8. ตำแหน่งนิติกร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
9. ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง แผนกธุรกรรมกฎหมาย
10. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
11. ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)
12. เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา บริษัท เงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
13. ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี จำกัด (มหาชน)
14. เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
15. นิติกรอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์


ชื่ออาชีพ
ผู้พิพากษา Judges
รหัสอาชีพ
1-22.20 (TSCO) 2421 (ISCO)
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ ได้แก่ ผู้มีอำนาจอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงใน พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ลักษณะของงานที่ทำ
ตรวจคำคู่ความซึ่งยื่นต่อศาลเพื่อสั่งรับ หรือไม่รับ หรือให้ทำใหม่ หรือให้แก้ไขเพิ่มเติม
ควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ออกข้อกำหนด เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยเที่ยงธรรม และรวดเร็ว ออกหมายเรียก ออกหมายอาญา
ออกหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่นหรือออกคำสั่งใดๆ
ไต่สวน และวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง หรือคำขอ
ไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญา ไต่สวนการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน
นั่งพิจารณาคดี และควบคุมการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ตรวจบุคคล วัตถุสถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ใช้ดุลยพินิจวินิจฉัย ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง
พิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีทั้งทางแพ่ง และทางอาญาโดยยุติธรรมตามกฎหมาย
บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา
ทำรายงานการคดี และกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่น ให้เป็นไปโดย ถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
อาจมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่างประเภทกันตามประเภทของศาล
สภาพการจ้างงาน
ได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษาก่อนผู้ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก
ผู้ประกอบอาชีพผู้พิพากษา จะมีบัญชีอัตราเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการตุลาการ แตกต่างตามประเภทศาล และตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาจะมีอัตราเงินเดือน 14,850 - 16,020 บาท
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษา(ศาลชั้นต้น) จะมีอัตราเงินเดือน 21,800 - 57,190 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคถึงประธานศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ถึงรองประธานศาลฎีกาจะมีอัตราเงินเดือน 57,190 - 62,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่งแตกต่างกันไป
ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา จะมีอัตราเงินเดือน 64,000 บาท และมีเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อาจจะต้องเข้าเวรในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด เพื่อทำหน้าที่ ลงนามคำสั่งในหมายศาล ในกรณีที่ต้องดำเนินทันทีไม่สามารถรอจนถึงวันทำการได้
สภาพการทำงาน
ผู้พิพากษามีห้องทำงานที่มีสภาพเหมือนห้องทำงานทั่วไป และเมื่อต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความ จะต้องนั่งบังลังก์ปฏิบัติหน้าที่พิพากษา เป็นประธานในห้องตัดสินคดีความ
อาชีพผู้พิพากษา อาจจะต้องปฏิบัติงานประจำศาลในต่างจังหวัด โดยเฉลี่ยจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3-4 ปีในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบ้านพักผู้พิพากษาประจำในทุกจังหวัด หรืออาจจะปฏิบัติหน้าที่ประจำศาลในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประกาศของคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้พิพากษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
ไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบรูณ์ เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับเนติบัณฑิตยสภาจากสำนักเนติบัณฑิตยสภา
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้คือ : การดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตามพระราช-บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 นั้น บุคคลผู้ประสงค์จะเข้า รับราชการเป็นผู้พิพากษามีได้ 3 ทางคือ
1. สมัครสอบคัดเลือก ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
2. สมัครทดสอบความรู้ ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
3. สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษต้องอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
ผู้ที่จะเข้าเป็นผู้พิพากษาโดย 3 ทางดังกล่าวข้างต้น ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 26 กำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่นต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดไม่เป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐ เป็นต้น และสำหรับผู้สอบคัดเลือกตามข้อ1 ต้องมีคุณวุฒิ และได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
1. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจาก ต่างประเทศ ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และ
3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็น จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือพนักงานคุมความประพฤติของศาลยุติธรรม พนักงานอัยการ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ ทนายความ หรือประกอบวิชาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ตามที่ ก.ต.กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีทั้งนี้ให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนด เงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้นๆ ด้วย
หลักเกณฑ์ และวิธีการสมัครสอบคัดเลือก ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 27)
ผู้สมัครทดสอบความรู้ตามข้อ 2 ต้องมีคุณวุฒิและได้ประกอบวิชาชีพดังต่อไปนี้
1. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
2. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. สอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรเดียว ไม่น้อยกว่าสามปี ซึ่ง ก.ต. เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือสอบได้ปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง
ข. สอบไล่ได้ปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ โดยมีหลักสูตรเดียวไม่น้อยกว่าสองปี หรือหลายหลักสูตรรวมกันไม่น้อยกว่าสองปี ซึ่ง ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ตามมาตรา 27 (3) (ประกอบวิชาชีพเป็นจ่าศาล พนักงานอัยการ ฯลฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี)
ค. สอบไล่ได้ปริญญาโททางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่ง ก.ต. รับรอง และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(3) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
ง. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิตชั้นเกียรตินิยม และได้ประกอบวิชาชีพเป็นอาจารย์ใน คณะนิติศาสตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
จ. เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ที่ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายในตำแหน่งตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกปี และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมรับรองว่ามีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรู้ความสามารถดี และมีความประพฤติดีเป็นที่ไว้วางใจว่าจะปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการได้
ฉ. สอบไล่ได้ปริญญาโท หรือปริญญาเอกในสาขาวิชาที่ ก.ต. กำหนด และเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต และได้ประกอบวิชาชีพตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27 (3) หรือได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
ช. สอบไล่ได้ปริญญาตรี หรือที่ ก.ต. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ ก.ต.กำหนดและได้ประกอบวิชาชีพตามที่ ก.ต. กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้น และเป็นนิติศาสตร์บัณฑิต
ให้ ก.ต. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพตาม (2) (จ) (ฉ) และ (ช) ด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการสมัครทดสอบความรู้ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 28) ส่วนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ตามข้อ 3 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
ก. เป็น หรือเคยเป็นศาสตราจารย์ หรือ รองศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ข. เป็น หรือเคยเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
ค. เป็น หรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือข้าราชการประเภทอื่นในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
ง. เป็น หรือเคยเป็นทนายความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
2. สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
3. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ดีเด่นในสาขาวิชากฎหมายตามที่ ก.ต.กำหนด
4. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีบุคลิกภาพ มีความประพฤติ และทัศนคติเหมาะสมแก่ การปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ
หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกพิเศษ ให้ ไปตามระเบียบที่ ก.ต.กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม มาตรา 29)
โอกาสในการมีงานทำ
ตำแหน่งผู้พิพากษาถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน และชีวิตของประชาชนพลเมือง และทำงานในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ มีบัลลังก์นั่งสูงกว่าข้าราชการธรรมดา แม้ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวจะลดน้อยลงเนื่องจากจำนวนผู้พิพากษามากขึ้น อีกทั้งฐานะในทางสังคม และเกียรติภูมิของข้าราชการฝ่ายอื่น ตลอดจนพ่อค้านักธุรกิจสูงขึ้น แต่ตำแหน่งผู้พิพากษาก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ เพราะฉะนั้นผู้พิพากษาจึงต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ดังนั้นกิจการบางอย่างซึ่ง ขัดกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลาง หรือความเป็นธรรม เช่น รับปรึกษาคดีให้บุคคลทั่วไป หรือรับทำงานนอกเวลาหารายได้พิเศษเลี้ยงครอบครัว แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ เพราะการกระทำเช่นนั้นอาจกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษา
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อมีความชำนาญ และประสบการณ์จะสามารถได้รับการเลื่อนขั้น ตำแหน่งตามสาย-งานไปได้จนถึงตำแหน่งบริหารของข้าราชการตุลาการ ประธานศาลฎีกา
การประกอบการอื่นเพื่อหารายได้พิเศษ แม้จะเป็นงานสุจริตกฎหมายก็ห้ามไว้มิให้กระทำ เนื่องจากผู้พิพากษาต้องดำรงตนให้น่าเชื่อถือ ไม่ควรทำให้เป็นที่ระแวงสงสัยในความเป็นกลางหรือความเป็นธรรม และสำหรับอาชีพนี้อัตราเงินเดือนจัดได้ว่าสูงกว่าข้าราชการสังกัดอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งเป็นอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้เหมาะสมกับภาวะสังคม
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ทนายความ ที่ปรึกษาทางกฏหมาย นิติกร อาจารย์มหาวิทยาลัย






จริยธรรมผู้พิพากษา

เ ดิมมีเพียงธรรมเนียมปฏิบัติในการวางตัวของผู้พิพากษาที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเท่านั้น สิ่งใดกระทำได้ สิ่งใดกระทำไม่ได้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อๆ กันมา เพราะผู้พิพากษาในประเทศ มีเพียงจำนวนน้อย ต่อมาจำนวนผู้พิพากษาได้เพิ่มขึ้น ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา บางอย่าง ก็มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพราะการเปลี่ยนแปลง ของสังคมภายนอก ทำให้การปฏิบัติตัว ของผู้พิพากษา บางครั้ง มองดูแล้ว ไม่เหมาะสมบ้าง ที่ประชุมคณะกรรมการ ตุลาการครั้งที่ ๖/๒๕๒๗ เห็นว่า ผู้พิพากษาบางท่าน ประพฤติตนในบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งที่ประชุมยังโต้เถียงกันอยู่ว่า การกระทำดังกล่าวนั้น เหมาะสมหรือไม่ เพราะยังไม่มีกฏเกณฑ์วางไว้ เป็นที่แน่นอน ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า น่าจะมีระเบียบ หรือคำแนะนำ หรือมีการวางแนวปฏิบัติไว้ ให้ผู้พิพากษาประพฤติ เพราะแม้จะมีวินัย อยู่ในกฎหมายว่า ด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ก็เป็นเพียงกา รวางหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ บางเรื่องยังคลุมไปไม่ถึง และบางเรื่อง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่ได้เขียนไว้ จึงตั้งคณะกรรมการ วางหลักเกณฑ์ เรียกว่า ประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการขึ้น ซึ่งในด้านจริยธรรม เกี่ยวกับกิจการอื่น และเกี่ยวการดำรงตน และครอบครัวนั้น ได้บัญญัติไว้ทั้งหมด ๑๖ ข้อ ซึ่งจะนำมาให้ดู ดังต่อไปนี้

๑. ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ
ผู้จัดการ ที่ปรึกษาหรือดำรงตำแหน่งอื่นใด ในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้าน หรือธุรกิจของเอกชน เว้นแต่เป็นกิจกรรม ที่มิได้แสวงหากำไร ผู้พิพากษาจักต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๒. ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้ปฏิบัติ หน้าที่อันเกี่ยวกับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นได้ ในเมื่อการปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าว ไม่กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้อง ได้รับอนุญาต จากกระทรวงยุติธรรม แล้ว

การเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ ในทำนองเดียวกัน จักต้องได้รับอนุมัติจาก ก.ต.ด้วย

ผู้พิพากษา ไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๓. ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสร ชมรม หรือ องค์การใดๆ หรือเข้าร่วม ในกิจการใด ๆ อันจะกระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือ เกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา

๔. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิต หรือเกี่ยวพัน ทางแต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษา ถือเป็นญาติสนิท มีส่วนได้เสียในมรดก หรือทรัพย์นั้นโดยตรง

๕. ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท

๗. ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ

๘. ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง และจักต้อง ไม่เข้าเป็น ตัวกระทำการ ร่วมกระทำการ สนับสนุน ในการโฆษณา หรือชักชวนใดๆ ในการ เลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภา หรือผู้แทน ทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใด นอกจาก การใช้สิทธิ เลือกตั้ง

๙. ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตน อย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรม และประเพณีอันดีงาม ของตุลาการ ทั้งพึงวางตน ให้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป

๑๐. ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับ และพึงขวนขวายศึกษาเพิ่มเติม ทั้งในวิชาชีพ ตุลาการ และ ความรู้รอบตัว ผู้พิพากษาจักต้อง ไม่ก้าวก่าย หรือแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ จาการ ปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษาอื่น

๑๑. ผู้พิพากษาจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัว ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือ ของผู้อื่น และจักต้อง ไม่ยินยอมให้ผู้อื่น ใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตน แสวงหาประโยชน์ อันมิชอบ

๑๒. ผู้พิพากษาพึงยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจักต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีชอบ หรือประโยชน์อื่นใด โดยมิชอบ จากผู้บังคับบัญชา หรือ จากบุคคลอื่นใด

๑๓. ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพ หรือการงานอื่นใดของ คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคล ซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตน มีลักษณะเป็นการ กระทบกระเทือน ต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความเชื่อถือศรัทธา ของบุคคลทั่วไป ในการประสาทความยุติธรรม ของผู้พิพากษา

๑๔. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ จากคู่ความ หรือจากบุคคลอื่นใด อันเกี่ยวเนื่อง กับการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้พิพากษา และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย

๑๕. ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์ อื่นใดอันมีมูลค่า เกินกว่า ที่พึงให้กัน ตามอัธยาศัย และประเพณีในสังคม และจักต้องดูแล ให้บุคคลในครอบครัว ปฏิบัติเช่นเดียว กันด้วย

๑๖. ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่น ซึ่งมีส่วนได้เสีย หรือ ผลประโยชน์ เกี่ยวข้อง กับคดีความ หรือบุคคล ซึ่งมีความประพฤติ หรือมีชื่อเสียง ในทางเสื่อมเสีย อันอาจจะกระทบกระเทือน ต่อความเชื่อถือ ศรัทธาของบุคคลทั่วไป ในการประสาท ความยุติธรรม ของผู้พิพากษา ต่อมาได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน จึงได้มีการแก้ไข ประมวลจริยธรรม ใหม่ขึ้น ตามประมวลจริยธรรมฉบับใหม่นี้ ท่านประธานศาลฎีกา มีอำนาจ ออกคำแนะนำ ในการดำรงตน ของผู้พิพากษา ซึ่งท่านประธานศาลฎีกา ได้ให้ความกรุณา ออกคำแนะนำ ให้การดำรงตน ของผู้พิพากษาไว้ ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวนี้ ผู้เขียนมีความรู้สึก ชื่นชมต่อ ท่านประธานศาลฎีกา เป็นอย่างยิ่ง เพราะมีหลายข้อ ที่ผู้เขียน เคยตะขิดตะขวงใจ หรือลำบากใจ ในการวางตัว และไม่แน่ใจว่า สิ่งดังกล่าวนั้น เหมาะสม และ สมควร ในการดำรงตน ของผู้พิพากษาหรือไม่ เพื่อท่านได้ออกกำหนดมาชัดเจนเช่นนี้ ย่อมเป็นผลดีต่อ ผู้พิพากษา และผลดี ต่อประชาชน และประเทศชาติ เป็นอย่างยิ่ง ดังคำแนะนำขอท่าน ที่นำมาให้ลงไว้นี้

คำแนะนำของประธานศาลฎีกา
เกี่ยวกับการดำรงตนในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ ตามประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๔
เพื่อให้การดำรงตน ในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเห็นสมควร ให้คำแนะนำ ในโอกาสต่างๆ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามประมวลจริย-ธรรมจาก ราชการตุลาการ ไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑. การตรวจราชการ
(๑) ผู้ตรวจราชการควรคำนึงถึงความจำเป็น ในการไปตรวจราชการ และระมัดระวังเกี่ยวกับความประหยัด ในการต้อนรับ และระยะเวลา ที่ผู้รับการตรวจ ต้องใช้ในการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ

(๒) ผู้ตรวจราชการ ควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น และ ให้มีจำนวนน้อยที่สุด

(๓) ผู้ตรวจราชการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการไปตรวจราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ เช่น ค่ายานพาหนะ ค่าที่พักและเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น

(๔) ผู้ตรวจราชการควรงดเว้นการรับการอำนวยความสะดวกในทุกด้าน ที่เกินความรับผิดชอบตามปกติ ของผู้รับการตรวจ

(๕) ผู้รับการตรวจพึงอำนวยความสะดวก ตามสมควรแก่ผู้ตรวจราชการ และงดเว้นการยืมยานพาหนะ จากบุคคลภายนอก การเกณฑ์ผู้คน มาให้การต้อนรับ และงดเว้นการจัดหา ของที่ระลึก ของขวัญ หรือ สิ่งของอื่นใด มอบให้แก่ผู้ตรวจราชการ และคณะ

(๖) ผู้รับการตรวจพึงรอต้อนรับผู้ตรวจราชการอยู่ภายในที่ตั้งของตน งดเว้นการไปรอรับจากจังหวัดอื่น หรือตามไปส่งยังจังหวัดอื่น

(๗) การไปสัมมนาของหน่วยงานราชการ ให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ พึงปฏิบัติ เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น

ข้อ ๒. การเดินทางไปรับตำแหน่งและการเดินทางไปเพื่อภารกิจส่วนตัว
(๑) ผู้เดินทางไปรับตำแหน่งควรคำนึงถึงจำนวนคนที่จะร่วมเดินทางไป พึงงดเว้นการชักชวน หรือยอม ให้บุคคลอื่น ติดตามไปส่ง เป็นจำนวนมาก และไม่ควรให้เป็นภาระ แก่ผู้ให้การต้อนรับ และพึงรับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง รวมรวมตลอดทั้งค่าอาหาร และค่าที่พัก ของผู้ร่วมเดินทาง ไปส่งเอง

(๒) ศาลที่ผู้เดินทางไปรับตำแหน่งพึงให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกตามสมควรแก่ผู้เดินทาง มารับตำแหน่ง เช่นจัดให้เข้าที่พัก ของทางราชการ และอำนวยความสะดวก ในสิ่งอื่นที่จำเป็น เพื่อให้ ผู้เดินทาง มารับตำแหน่ง รู้สึกอบอุ่นใจ และเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อกันตามสมควร

(๓) การเดินทางไปเพื่อภารกิจส่วนตัว ผู้เดินทางไม่ควรรบกวน ข้าราชการในพื้นที่

ข้อ ๓. การจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ
๑ ข้าราชการตุลาการพึงงดเว้นการชักชวนหรือสนับสนุนให้มีการเดินทางไปอวยพร หรือจัดเลี้ยง ในโอกาส ต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิด หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เว้นแต่เป็นการกระทำกัน ภายในหมู่ญาติมิตร หรือเฉพาะ ในหน่วยงานของตนเอง โดยมิได้รบกวน บุคคลภายนอก หรือ ให้บุคคล ภายนอกมาร่วมจัดงาน

(๒) ข้าราชการตุลาการพึงงดรับของขวัญ ของมีค่า ของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลอื่น

(๓) ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงงดเว้นการเดินทางไปอวยพร ผู้บังคับบัญชา เว้นแต่เป็นการกระทำกัน ภายใน หน่วยงานนั้นเอง ข้าราชการ ซึ่งอยู่ต่างท้องที่ หรืออยู่ห่างไกล หากประสงค์ จะอวยพร ควรใช้บัตรอวยพร ทางไปรษณีย์แทน

การจะพิจารณาว่า ผู้พิพากษาท่านใด ดำรงตนได้เหมาะเพียงใดหรือไม่ ก็คงจะใช้ประมวลจริยธรรม และ คำแนะนำ ของท่าน ประธานศาลฎีกา ดังกล่าวนี้ เป็นบรรทัดฐาน ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากกฎหมาย จารีต ประเพณี และธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆ ที่ได้ปฏิบัติกันมาแล้ว สำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรอื่น จะมีประมวล จริยธรรม ของตนเอง หรือมีคำแนะนำ ข้อปฏิบัติ ของหัวหน้า ส่วนราชการอย่างไรนั้น ก็เป็นของ แต่ละหน่วยงาน เห็นเหมาะสม และสมควร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ของประชาชน และความน่าเชื่อถือ ของบุคลากร ของหน่วยงานนั้นๆ

Read more...

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
ภาคกลาง
1. อาณาจักรทวารวดี
2. อาณาจักรละโว้
ภาคใต้
1. อาณาจักรศรีวิชัย
2. อาณาจักรตามพรลิงก์
ภาคอีสาน
1. อาณาจักรฟูนาน
2. อาณาจักรขอม
ภาคเหนือ
1. อาณาจักรหริภุญชัย
2. แคว้นโยนก
3. แคว้นเงินยางเชียงแสน
ยุคสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ยุคสมัยล้านนา

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล

ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย

การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้

อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

ยุคสมัยกรุงธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง

* การปกครองส่วนกลาง
o ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
o ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา

* การปกครองหัวเมืองชั้นใน
o หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
o หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
o หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้เเก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

Read more...

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ไทย คือประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น

มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว
ภาคกลาง
1. อาณาจักรทวารวดี
2. อาณาจักรละโว้
ภาคใต้
1. อาณาจักรศรีวิชัย
2. อาณาจักรตามพรลิงก์
ภาคอีสาน
1. อาณาจักรฟูนาน
2. อาณาจักรขอม
ภาคเหนือ
1. อาณาจักรหริภุญชัย
2. แคว้นโยนก
3. แคว้นเงินยางเชียงแสน
ยุคสมัยสุโขทัย

ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน

พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์

อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
การปกครองหัวเมือง
หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี 2 ลักษณะคือ
(1) หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(2) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ยุคสมัยล้านนา

ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดย พระเจ้าเม็งรายมหาราช และได้อยู่ภายใต้การปกครองโดยพม่าในปีพ.ศ. 1901 และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล
เจดีย์ใหญ่ วัดใหญ่ชัยมงคล

ยุคสมัยกรุงศรีอยุธยา

อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหลวม ๆ ได้ กระทั่งเมื่อพม่าได้เข้ามารุกรานและสามารถครอบครองอยุธยาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อยุธยาจึงได้หล่อหลอมเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง ซึ่งก็ได้สร้างความมั่นคงเข้มแข็งให้กับอยุธยาเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งภายในที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดอยุธยาก็ไม่สามารถเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาวไทยทั้งมวลได้ ทำให้ต้องถูกทำลายลงโดยกองทัพของพม่าอย่างง่ายดายเกินความคาดหมาย

การล่มสลายลงของอาณาจักรอยุธยาทำให้ระบบระเบียบที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการบริหารนั้นถูกทำลายลง ความเข้มแข็งของอยุธยาจึงถูกแสดงออกภายหลังจากการล่มสลายลงของตัวมันเอง การประกาศเอกราชจากพม่าในเวลาอันสั้นในขณะที่ฝ่ายพม่าก็มีปัญหาเช่นกันอาจมิใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะยกมาอ้างอิง แต่การก่อร่างสร้างอาณาจักรของชาวไทยขึ้นมาใหม่ ท่ามกลางสภาพความแตกแยกและความพยายามที่จะเข้ามารุกรานจากกลุ่มชาวต่างๆ รายรอบนั้นย่อมแทบที่จะเป็นไปไม่ได้หากอาณาจักรอยุธยามิได้ฟูมฟักความเข้มแข็งนี้ไว้ให้

อาณาจักรใหม่ของชาวไทยยังต้องเผชิญกับความขัดแย้งภายในอีกรอบหนึ่งระหว่างกลุ่มขุนนางระดับล่างและกลุ่มขุนนางระดับสูงจาก อาณาจักรอยุธยาเดิม ซึ่งในที่สุดกลุ่มขุนนางระดับสูงจากอาณาจักรอยุธยาเดิมก็ได้รับชัยชนะ เนื่องจากเมื่ออาณาจักรเริ่มมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น ความสามารถในเชิงรัฐศาสตร์และการเมืองอันลึกซึ้ง ย่อมทวีความสำคัญมากกว่าความสามารถในการสงครามประการเดียว

ยุคสมัยกรุงธนบุรี

ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่พระเจ้าตากสินมหาราชได้ขับไล่อาณาจักรพม่าออกจากอยุธยา และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง

* การปกครองส่วนกลาง
o ฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหมดูแล
o ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกดูแล

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งจตุสดมภ์ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 ส่วน คือ เวียง วัง คลัง นา

* การปกครองหัวเมืองชั้นใน
o หัวเมืองชั้นใน(เมืองจัตตวา) คือหัวเมืองที่มีขนาดเล็กง่ายต่อการเดินทางไป มีผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
o หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร คือเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี แบ่งออกเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ตรี ตามลำดับความสำคัญ มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเจ้าเมือง โดยได้รับการเเต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
o หัวเมืองประเทศราช คือ มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาที่กำหนดและต้องส่งกองทัพมาช่วยเมื่อราชธานีเกิดศึกสงคราม ได้เเก่ กัมพูชา ลาว เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช

ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ข้อเสียของการปกครองในสมัยอยุธยาได้ถูกพยายามกำจัดลงในสมัยรัตนโกสินทร์ การกำหนดตัวบุคคลผู้จะเข้าสู่อำนาจมีความชัดเจนและเด็ดขาด ปัญหาความขัดแย้งเนื่องด้วยการแก่งแย่งอำนาจจึงเบาบางลง อย่างไรก็ตามปัญหาการรุกรานจากชาติตะวันตกกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายปกครองต้องมีสมาธิในการบริหาร การตัดสินใจปรับปรุงพัฒนาประเทศอย่างทันท่วงทีทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก แต่ก็ส่งผลให้แนวคิดทางการเมืองการปกครองใหม่ ๆ ได้หลั่งไหลมาสู่ประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เศรษฐกิจของโลกตกต่ำเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยเป็นอันมาก และทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจปกครองซึ่งถูกมองว่ามีการหาประโยชน์ใส่ตนและพวกพ้องทั้งที่ประชาชนตกอยู่ในสภาวะยากแค้น ในที่สุดจึงเกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนการปกครองของประเทศเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะทำให้ประชาชนสามารถมีปากมีเสียงเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ให้กับตนเองได้อย่างถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้นยังไม่เหมาะกับสภาพทางสังคมของไทย ประชาชนไม่สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยไว้กับตนได้ อำนาจอธิปไตยจึงถูกดึงให้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายทหารเป็นเวลาหลายทศวรรษ

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี พ.ศ. 2535 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

Read more...

สัตว์

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สัตว์


สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด จัดอยู่ใน อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียส มีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วยหลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละ เซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอยสองฝา แมลงสาบ ในทางชีววิทยา มนุษย์ ก็จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ โดยคำว่าสัตว์ กลายความหมายมาจากคำว่า "สตฺตฺว" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่าสิ่งมีชีวิตประเภทของสัตว์ สัตว์ในโลกนี้มีมากมาย หลายชนิด นักวิทยาศาสตร์ได้จัดแบ่งสัตว์เป็นกลุ่ม โดยถือรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน หรือต่างกันเป็นสำคัญ อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ใช้กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสัตว์ได้เป็น 2 พวก คือ

* สัตว์มีกระดูกสันหลัง

*สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แบ่งประเภทของสัตว์ตามธรรมชาติถ้าจำแนกตามลักษณะ ที่อยู่ของสัตว์แล้วก็สามารถแบ่งได้ดังนี้

* สัตว์บก จะอาศัยอยู่บนบก เช่น นก หนู ฯลฯ

* สัตว์น้ำ จะอาศัยอยู่ในน้ำเช่น ปลา กุ้ง เป็นต้น

* สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สามารถอาศัยอยู่ในน้ำเมื่อแรกเกิด แต่เมื่อโตเต็มวัยรูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไปสามารถอาศัยบนบกได้ เช่น กบ เป็นต้น

งูเห่า เป็นงูบกขนาดกลาง มีหลายสี คือ ดำ น้ำตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น รวมทั้งสีขาว มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลายเลย เป็นงูที่มีอันตราย นิสัยดุ ฉกกัด เมื่อเกิดอาการตกใจมักทำเสียงขู่ฟู่ๆ และเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง มีร่องและรูทางออกของน้ำพิษทางด้านหลังของเขี้ยวพิษ เขี้ยวพิษขนาดไม่ใหญ่นักซึ่งผนึกติดแน่นกับขากรรไกรขยับไม่ได้ นอกจากเขี้ยวพิษแล้วอาจมีเขี้ยวสำรองอยู่ติด ๆ กันอีก 1 - 2 อัน ที่ขากรรไกรล่างไม่มีฟัน งูเห่าเมื่อโตเต็มวัย มีความยาวประมาณ 120-150 เซนติเมตร เมื่อเทียบตามส่วนแล้วงูเห่าสามารถแผ่แม่เบี้ยได้กว้างที่สุดกว่าชนิดอื่น ยกตัวชูคอแผ่แม่เบี้ยได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่

ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศที่ยังคงเป็นธรรมชาติ เช่น ประเทศแถบเอเชีย

อาหารส่วนใหญ่ของงูเห่าคือ คางคก เขียด หนู ไก่ ปลา และงูที่มีขนาดเล็กกว่า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามท้องทุ่งหรือท้องนา อาศัยพักนอนในโพรงดิน เลาโกรธหรือตกใจจะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ฟ่อ เมื่อเข้าใกล้จะฉกลงกัด งูเห่าสามารถกัดได้โดยไม่ต้องแผ่แม่เบี้ยถ้าตกใจหรือโดนเหยียบ ออกหากินตั้งแต่พลบค่ำจนถึงกลางคืสตอนดึก ในฤดูร้อนงุเห่ามักจะหลบอยู่ในโพรงดินหรือรูหนู เพื่อคอยดักจับหนูที่จะกลับเข้ามา ในฤดูฝนจะออกหากินตามท้องนาคอยดักจับกบ เขียด ซึ่งออกมากินแมลง เมื่อข้าวออกรวงจะคอยดักจับหนูที่มากินรวงข้าว ถ้าน้ำท่วมท้องนา งูเห่าจะหนีไปตามที่ดอนไปขึ้นต้นไม้ หรือเข้าไปอยู่ใกล้ๆบ้านคน สำหรับในฤดูหนาวงูเห่าจะหลบอยู่ตามรู ไม่ค่อยออกมาหากิน

งูเห่าวางไข่ครั้งละประมาณ 10-20 ฟอง ไข่มีลักษณะยาวรี เปลือกไข่เหนียวนิ่มและมีสีขาว เมื่อไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัว ลูกงูจะมีลักษณะสีลวดลายคล้ายตัวโตเต็มวัย

Read more...

พีธากอรัส (Pythagoras)

พีธากอรัส (Pythagoras)

พีธากอรัสเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าพีธากอรัสมีอายุอยู่ในราว 582 - 500 ก่อนคริสตกาล พีธากอรัสเป็นชาวกรีก เป็นนักปรัชญา และผู้นำศาสนา พีธากอรัสมีผลงานที่สำคัญคือ เป็นนักคิด เป็นนักดาราศาสตร์ นักดนตรี และนักคณิตศาสตร์ แรกเริ่มในชีวิตเยาว์วัยอยู่ในประเทศกรีก ต่อมาได้ย้ายถิ่นพำนักไปตอนใต้ของอิตาลี ที่เมืองโครตัน (Croton) ศึกษาเล่าเรียนทางปรัชญาและศาสนาที่นั่น พีธากอรัสมีผู้ติดตามและสาวกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่า Pythagorean การทำงานของพีธากอรัสและสาวกจึงทำงานร่วมกัน

แนวคิดที่สำคัญของพีธากอรัสและสาวกคือหลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์ ทำให้การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งพีธากอรัสและสาวก ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์หลายเรื่องและต่อมาทฤษฎีเหล่านี้เป็นรากฐานของ วิทยาการในยุคอียิปต์

สิ่งที่สำคัญและถือได้ว่าเป็นทฤษฎีของพีธากอรัสที่มีชื่อเสียง คือ ความสัมพันธ์ของด้าน 3 ด้านของสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งความรู้นี้มีมาก่อนแล้วกว่า 700 BC แต่การนำมาพิสูจน์อ้างอิงและรวบรวมได้กระทำในยุคของพีธากอรัสนี้

พีธากอรัสได้กล่าวว่า ด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดสั้นกว่าเส้นทแยงมุม และจุดนี้เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าตัวเลขมีลักษณะเป็นตัวเลขอตรรกยะ (irrational) คือ ตัวเลขที่หาขอบเขตสิ้นสุดไม่ได้ ดังตัวอย่างเช่น ซึ่งไม่มีใครสามารถหาจุดสิ้นสุดของค่าของจำนวนอตรรกยะนี้ได้ ในยุคนั้นจึงให้ความสนใจในเรื่องของจำนวน ตัวเลข และเรขาคณิต

เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพีธากอรัสและสาวก เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติหลายอย่าง พีธากอรัสได้กล่าวถึงลักษณะของด้านและมุมของรูปสามเหลี่ยม และรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ จนถือได้ว่าเป็นพื้นฐานแห่งทฤษฎีบทหลายบทจนถึงปัจจุบัน เช่น ผลบวกของมุมภายในของสามเหลี่ยมใด ๆ มีค่าเท่ากับสองมุมฉาก และยังสามารถขยายต่อไปอีกว่า ในรูปสามเหลี่ยมที่มีจำนวนด้านเท่ากับ n ผลบวกของมุมภายในรวมเท่ากับ 2n - 4 มุมฉาก

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการสังเกตของพีธากอรัสในขณะนั้นคือ เขาเชื่อว่าโลกมีลักษณะกลม และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงจันทร์ และดาวต่าง ๆ โคจรรอบโลก เขาเสนอว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลก เขายังเป็นคนแรกที่เชื่อและแสดงให้เห็นว่า ดาวประจำเมือง (ดาวศุกร์) ที่เห็นตอนเย็น และดาวประกายพฤกษ์ที่เห็นตอนเช้ามืดเป็นดาวดวงเดียวกัน
การสังเกตของพีธากอรัสต่อสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเป็นรากฐานความคิดในยุดต่อไป

Read more...

ปาสคาล (Pascal)


ปาสคาล (Pascal)

ชื่อเต็มๆว่าBlaisePascalปาสคาลไม่ใช่ผู้พัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชื่อภาษาปาสคาล ปาสคาลเกิดวันที่ 16 เดือนมิถุนายน ปีค.ศ. 1623 ที่ประเทศฝรั่งเศส ช่วงที่ปาสคาลยังมีชีวิตอยู่มีระยะเวลากว่า 300 ร้อยปีก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ ดร.เวียตผู้พัฒนาภาษาปาสคาลได้ตั้งชื่อภาษาให้เป็นเกียรติแก่ปาสคาล ทั้งนี้เพราะปาสคาลเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งในยุคการพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรตที่ 16-17

ปาสคาลเป็นผู้มีจินตนาการและความคิดที่กว้างไกล ปาสคาลได้ศึกษาแนวคิดของยูคลิดในเรื่อง Elements ในช่วงอายุยังวัยเยาว์ เขาทำความเข้าใจหลักและทฤษฎีหลายอย่างของยูคลิดได้ก่อนอายุ 12 ปี นอกจากนี้เขามีความสนใจในเรื่องวิชาฟิสิกส์ โดยเฉพาะในเรื่องของเหลว และแรงดันของเหลว โดยนำหลักการของอาร์คีมีดีสมาใช้ จนในที่สุดเขานำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องจักรไฮดรอลิกที่มีประโยชน์อย่างมากในการยกน้ำหนัก และยังได้อธิบายหลักการของความดันของเหลว

พ่อของปาสคาลทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บภาษีให้รัฐบาลฝรั่งเศส ครอบครัวของเขาจึงต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่องตัวเลขของเงินทองจำนวนมาก ด้วยความติดที่อยากจะหาเครื่องจักรเข้ามาช่วยเป็นเครื่องคำนวณคิดเลข เขาได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขแบบกลไกขึ้น เขาใช้เวลาถึง 3 ปีในการประดิษฐ์ และสร้างขึ้นมาใช้งาน และประสบผลสำเร็จด้วยดี

ปาสคาลแสดงให้เห็นความเป็นคนช่างคิด และพัฒนาอย่างดียิ่งเพียงเมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี ปาสคาลได้เสนอผลงานวิจัยในบทความที่เขานำเสนอ ได้แก่ "Essay on Conic Sections" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปตัดกรวย ที่แสดงการวิเคราะห์เชิงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมาปาสคาลได้มีโอกาสศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นสูงขึ้นกับแฟร์มาต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรากฐานแคลคูลัส และทฤษฎีความน่าจะเป็น

ผลงานอย่างหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือ สามเหลี่ยมปาสคาล ซึ่งเป็นตัวเลขที่จัดทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับตัวเลขเหล่านี้อยู่มาก

Read more...

ยูคลิด (Euclid)

ยูคลิด (Euclid)

ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันดี ยูคลิดเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่อราว 365 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อมีชีวิตอยู่จนกระทั่งประมาณปี 300 ก่อนคริสตกาล สิ่งที่มีชื่อเสียงคือผลงานเรื่อง The Elements

หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี

ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตักยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม

ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่อง และดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น ทาลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีธากอรัส อย่างไรก็ตาม หลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดที่ได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน

ผลงานของยูคลิดยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เรื่องของแสง ทางเดินของจุดบนเส้นโค้งและผิวโค้ง รูปกรวย และยังมีหลักการทางดนตรี อย่างไรก็ตาม หลักสูตรหลายอย่างได้สูญหายไป

Read more...

ชุดเจ้าสาวไทย

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


ชุดเจ้าสาวไทย

เมื่อกล่าวถึงชุดเจ้าสาว แทบทุกคนย่อมมองเห็น ภาพเจ้าสาวฟูฟ่อง ดูเหมือนเราจะลืมกันไปเสียแล้วว่า ชุดเจ้าสาวของผู้หญิงไทย มีรูปแบบที่หลากหลาย ต่างกันไป ตามความนิยมและสภาพสังคมในแต่ละยุค

สตรีมีฐานะในสมัยอยุธยาตอนปลายก่อนเสียกรุง นิยมแต่งกาย ด้วยผ้านุ่งจีบหน้านาง ห่มสไบ โดยเลือกให้ สีตัดกัน เช่น ผ้านุ่งสีเขียว สไบแสด และอาจห่ม สไบอัดกลีบต่างสี สองผืนซ้อน ในวันที่ต้องการสวย เป็นพิเศษหากเป็นชุดสำคัญ อย่างชุดเจ้าสาว ก็จะเลือกเนื้อผ้าที่หรูหรา อย่างผ้ายก ผ้าแพร ทัดหู ด้วยดอกไม้สด มีเครื่องประดับตามฐานานุรูป

ในบทประพันธ์อิงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องสายโลหิต ของ โสภาค สุวรรณ ตอนที่แม่หญิงดาวเรือง แต่งงานกับขุนไกร ชุดเจ้าสาวของเธอ คือ ผ้านุ่งจีบ หน้านางผืนใหม่ที่อบร่ำ จนหอม พร้อมผ้าห่มสไบอัดกลีบสีตัดกันงดงาม และ ทัดดอกไม้ที่ข้างหู นวนิวยายอีกเรื่อง ที่อิงประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย จนถึง ต้นยุครัตนโกสินทร์ คือ เรื่องฟ้าใหม่ บทประพันธ์ของ ศุภร บุนนาคกล่าวถึงเครื่องแต่งกายของตัวละครหญิง ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ไว้ในตอนที่แม่พลอยนุ่งสีไรห่มสีไรเพิ่งจะเห็นแค่ชายผ้าห่ม ที่เฉียดไปกับข้างตักเดี๋ยวนี้เองว่าหล่อนห่มแพรสองชั้น ชั้นในสีทับทิมชั้นนอกนั้น กรองไหมโปร่งสีทอง

ในช่วงศึกสงครามสตรีจำเป็นต้องตัดผมสั้นเพื่อความสะดวกในการหนีภัยผมทรงนี้เรียกว่า ผมปีก คือไว้ผมยาวเฉพาะกลางศรีษะ แต่ปลายจอนที่ยาวลงมาเรียกว่า ผมทัด ใช้เกี่ยวดอกไม้ห้อยเพื่อความสวยงามได้ด้วย ส่วนเสื้อผ้า เปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อ ห่อมผ้าแบบตะเบงมาน ครั้นบ้านเมืองเริ่มสงบลง ก็กลับมาแต่งกายสวยงามกันใหม่ กล่าวคือ นุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบจีบ หรือสวมเสื้อแบบรีนบๆในวันปกติ และนุ่งผ้ายก ห่มสไบซ้อนสองชั้นในวันสำคัญ

เครื่องแต่งกายเช่นนี้ยังเป็นที่นิยมสืบต่อมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นดังที่ปรากฏ ในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนซึ่งรวบรวมขึ้น ในสมัยรัชกาลที่สองเนื้อเรื่องตอนหนึ่ง กล่าวถึงเครื่องแต่งกายของนางพิมพิลาไลย ในวันไปร่วมงานเทศน์มหาชาติที่วัดป่าเลไลยก์ว่า

นุ่งยกลายกนกพื้นแดง ก้านแย่งทองระยับจับตาพราย

ชั้นในห่มสไบชมพูนิ่ม สีทับทิมยกดอกดูเฉิดฉาย

ริ้วทองกรองดอกพรรณราย ชายเห็นเป็นที่เจริญใจ

จวบจนถึงรัชกาลที่สี่ซึ่งเริ่มเปิดประเทศ ติดต่อชาวตะวันตกยุคนี้การแต่งกาย เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง บุรุษต้องสวมเสื้อเวลาเฝ้า ส่วนสตรีในราชสำนัก ยังคงนุ่งผ้าจับหน้านาง ลายทอง ห่มสไบปัก และใช้เครื่องประดับต่างๆแบบไทยโบราณ อาทิ จี้ พาหุรัด เข็มขัด สร้อยตัว ต่างหู แหวน สำหรับหญิงทั่วไป เครื่องแต่งกายออกนอกบ้านมีทั้งเสื้อแขนกระบอกคอกลม ห่มสไบทับนุ่งผ้าลายโจงกระเบนหรือห่มสไบจีบ มีเครื่องประดับตามฐานะหญิงโสดสวม กำไลข้อเท้าด้วย

ความเปลื่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องเครื่องแต่งกายสตรี เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า ตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล ที่มีให้พระราชดำริเปลื่ยนแปลงเครื่องแต่งกายสตรี นุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ห่มตาดหรือห่มสไบปักเฉพาะในงานพิธีเต็มยศใหญ่ นอกนั้นให้นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อเข้ารูปผ่าหน้า แขนยาว คอกลมหรือคอตั้ง ชายเสื้อแค่เอว ห่มสไบแพรจีบ ที่ต่อมาพับตามยาวให้แคบลงเป็นคอแพรสะพาย ติดเข็มกลัดรวบชาย ผูกไว้ข้างเอวขวา สวมรองเท้าบู๊ตและถุงเท้า

ผ้าโจงกระเบนที่สตรีชาววังใช้กันในสมัยนั้น นอกจากผ้าลายที่หรูหรากว่า ผ้าม่วงนี้ไม่ได้หมายถึงผ้าสีม่วง หากแต่เป็นผ้าที่ทอจากเส้นไหมมีหลายชนิด เช่น ผ้าม่วงหางกระจอกสีเหลือบ ผ้าม่วงดอกม่วงไหมเลี่ยน ม่วงลาย ม่วงคดกฤช

หลังเสด็จกลับจากยุโรป พ.. 2440 ทรงนำแบบอย่างการแต่งกายของตะวันตกเข้ามาดัดแปลงให้เข้ากับเมืองไทย แบบเสื้อที่นิยมคือเสื้อคอตั้ง แขนยาวแนบสนิทจากข้อมือถึงข้อศอก ต้นแขนพองอย่างขาหมูแฮมติดระบายจีบฟู อกและรอบคอมีลูกไม้ประดับริ้บบิ้นสีเดียวกับแพรสะพาย ผ้านุ่งเป็นผ้าม่วงโจงกระเบน สวมถุงน่องรองเท้าถือผ้าเช็ดหน้าลูกไม้ และกระเป๋าเงินหรือทองถักแบบถักตาขุน

แม่วาดสาวชาววังสมัยรัชกาลที่ห้าจากนวนิยายเรื่องร่มฉัตร ของ ทมยันตี ก็แต่งกายตามความนิยมนี้เช่นกันในวันที่เธอเข้าพิธีสมรสกับคุณอรรถ ดังที่ท่านผู้ประพันธ์บรรยายไว้ว่า ตอนเช้าวาดนุ่งผ้าม่วงสีตองอ่อน ใส่เสื้อขาหมูแฮมแขนพอง คอจีบร้อยริบบิ้นที่คอและแขนสีเดียวกันกับ ผ้าม่วงและแพรที่สะพายตรึงเข็มกลัดมรกตที่อก บ่า และสะเอวผิวที่บ่มร่ำขมิ้น ดินสอพองไว้นานเหลืองละออ

ส่วนแม่พลอยของคุณเปรม สาวชาววังยุคเดียวกับแม่วาด จากเรื่องสี่แผนดิน ของ ... คึกฤทธิ์ ปราโมชนั้น ดูเหมือนจะแต่งงานหลังแม่วาดสักหน่อย เพราะผู้ประพันธ์เล่าถึงที่แม่พลอยตระเตรียมเสื้อผ้าสำหรับออกเรือน หลังจากรับหมั้นว่า เสร็จจากเรื่องผ้าก็เรื่องเสื้อ ซึ่งเดียวนี้ใส่กันหนาตากว่าแต่ก่อน สมัยนิยมก็เปลี่ยนไปจากเสื้อแขนพองเหมือนขาหมูแฮม กลายเป็นเสื้อแขนธรรมดารัดเอวแน่นและเกี่ยวขอข้างหลัง

ยุคนั้น สตรีที่เป็นข้าราชการในราชสำนัก เมื่อจะแต่งงาน ก็นิมสวชุดเจ้าสาวแบบ แหม่ม ดังกล่าว หรือสวมซิ่นกับเสื้อแบบฝรั่ง ส่วนทรงผม ถ้าไม่ไว้ยาวเกล้ามวย ก็ตัดเป็นทรงชิงเกิ้ล เมื่อออกงานจะคาดเคื่องประดับไว้ที่หน้าผาก แบบของเครื่องเพชรพลอยก็เป็นทางตะวันตกมากขึ้น

ล่วงมาถึงรัชกาลที่เจ็ด ช่วงต้นนิยมผ้าถุงสำเร็จสั้น เย็บเข้าขอบเอวไม่ต้องคาดเข็มขัด สวมเสื้อตัวหลวมยาว หรือแขนสั้นไม่มีแขนแต่งโบว์ระบายไม่สะพายแพร ใส่สร้อยต่างหูยาว และกำไล ไว้ผมยาวประมาณคาง ดัดเป็นลอน อย่างที่ทำให้แม่พลอยลำพึงว่า การแต่งตัวของเด็กสาวๆ รุ่นนี้เป็นแบบเดียวกันหมด คือตัดผมบ๊อบ หยิกผมนุ่งผ้าสิ้นสีเดียวกันทั้งผืนไม่มีเชิงไม่มีลาย เหมือนกับผ้าถุงของมอญใส่เสื้อแบบฝรั่ง เปิดจากแบบหนังสือเสื้อแบบต่างๆกันและสีต่างๆกันเริ่ม ต้นด้วยผ้าซิ่นยาวและเสื้อที่ยังมีแขนอยู่บ้างก่อน แต่นานวันเข้าผ้าซิ่นที่นุ่งนั้นก็เริ่มจะหดสั้นเข้า เป็นกระโปรงแหม่มและสั้นขึ้นทุกวันจนน่ากลัว อันตรายเวลาจะนั่งลุกในสายตาของพลอย ส่วนเสื้อที่นิยมใส่กันกลายเป็นแบบฝรั่งจากเมืองนอกแท้ คือเสื้อไม่มีแขนไม่มีเอวปล่อยเป็นรูปกระบอกหลวมๆ ยาวเลยสะโพกลงมาเล็กน้อย เมื่อใช้กับผ้าซิ่นที่หดขึ้นไปก็ทำให้มองเห็น ผ้าซิ่นเป็นขอบเหลืออยู่นิดเดียวพลอยพยายาม จะมองดูแบบการแต่งกายนี้ให้เห็นสวยก็ ไม่สามารถจะมองเห็นทางนั้นได้

แต่ต่อมาหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจและสังคม รูปแบบของเสื้อผ้าก็เปลี่ยนกลับไปเป็นเสื้อเรียบๆ เข้ารูป มีคอปกแบบฝรั่ง แขนสั้นบ้างพองบ้าง กับผ้าถุงสำเร็จสั้นหรือยาว ใช้เครื่องประดับแบบตะวันตกพองาม ไม่หรูหราฟู่ฟ่ามากนัก ดังเช่นที่ปรากฏในลายพระหัตถเลขา จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถเลขาไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาราชานุภาพ ฉบับลงวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2479 ซึ่งรวมอยู่ในหนังสือชุดสาส์นสมเด็จทรงเล่าเรื่องข้าหลวงคนหนึ่ง ที่กำลังจะออกเรือนว่า หญิงอามรับธุระจัดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สิงโตในการแต่งงาน แต่มีความหนักใจว่าพวกเมืองชลเขาจะไม่ชอบ จึงไล่เลี้ยงสิงโตได้ทราบความแปลกๆ เห็นว่าควรจะกราบทูลให้ทรงทราบด้วยติดจะขันๆ ว่า เสื้อผู้หญิงที่ตัดฟิตอย่างทุกวันนี้พวกเมืองชลชอบ เพราะเข้าแบบเสื้อกระบอกหรือเสื้อเอวที่ซึ่งเคยใส่มาก่อน ส่วนเสื้ออย่างโคร่งคร่างคาดเข็มขัดหลวมๆ ลงไปยานอยู่ที่สะโพกซึ่งเลิกไป แล้วนั่นเขาไม่ชอบว่าเหมือนปลากระบอกท้องไข่ ดัดผมคลื่นเขาเรียกกันว่า ผมกาบมะพร้าว เพราะถูกไฟเกรียมเส้นแข็งเหมือนเส้นกาบมะพร้าว ผู้หยิงที่แต่งแต้มสีปากว่าเป็นหญิงคนชั่ว แปลว่า แบบสากลนั้นชาวเมืองชลไม่ชอบ ทั้งทางบ้านเกล้ากระหม่อมก็ไม่ชอบประกอบกันถึงสองแรง

หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ผู้คนก็เริ่มแต่งตัวกันเต็มที่อีกครั้งโดยเป็นไปตามแบบตะวันตก อย่างที่ดาราภาพยนต์สวมใส่ มีกระโปรงบานแบบ นิวลุค ของห้องเสื้อดิออร์ เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในเรื่องเครื่องแต่งกายของสตรีไทย เกิดขึ้นเมื่อ พ.. 2503 ตามพระราชดำริของพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงตระหนักว่าสตรีไทยยังไม่มีชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการ จึงโปรดเกล้าฯให้ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค นางสนองพระโอษฐ์ไปปรึกษา กับอาจารย์ผู้รู้เพื่อรวบรวมแบบชุดต่างๆในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สุโขทัยมาประมวลออกแบบใหม่ ให้เป็นชุดแต่งกายประจำชาติสำหรับสตรีเรียกว่าชุดไทยพระราชนิยม มีแปดรูปแบบให้เลือกสวมใส่ให้เหมาะกับกาลเทศะ ได้แก่

ชุดไทยเรือนต้น เสื้อเข้ารูปแขนสามส่วน คอกลมไม่มีขอบ ผ่าหน้าสวมกับซิ่นยาวป้ายหน้า จะตัดเย็บจากผ้าฝ้ายหรือไหมก็ได้ แต่ไม่ต้องมียกทอง เพื่อจะได้สวมใส่สบาย เหมาะสำหรับงานอย่างลำลอง

ชุดไทยจิตรลดา เป็นชุสำหรับพิธีกลางวันใช้ผ้าไหมพื้นหรือยกดอกก็ได้ ผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าเสื้อแขนยาว ผ่าอก คอตรงมีขอบตั้ง ความงดงามอยู่ที่เนื้อผ้า

ชุดไทยอัมรินทร์ ลักษณะคล้ายชุดไทยจิตรลดา แต่ใช้ผ้ายกไหมแก้มทองเพราะเป็นชุดพิธีตอนค่ำ ตัวเสื้อเป็นคอกลมกว้างไม่มีขอบ และแขนสามส่วนก็ได้ ผ้าซิ่นยาวป้ายหน้าไม่ต้องคาดเข็มขัด

ชุดไทยบรมพิมาน เป็นชุดที่ใช้ในพิธีตอนค่ำอีกแบบหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีรูปร่างดีเพราะผ้านุ่งเป็นผ้ายกทองจีบหน้านางมีชายพก จึงต้องคาดเข็มขัด ตัวเสื้อเข้ารูป คอตั้ง ผ่าหลัง นิยมเย็บตัดกับผ้านุ่ง เป็นชุดยาวเพื่อจะได้ดูตรึงสวย

ชุดไทยศิวาลัย คล้ายชุดไทยบรมพิมาน แต่หรูหรายิ่งกว่า เพราะมีสไบปักห่มทับเสื้ออีกชั้น ใช้ในงานพิธีเต็มยศ

ชุดไทยจักรี ท่อนบนเป็นสไบเฉียง ทับด้วยสไบกรองทอง ผ้านุ่งยกทอง จีบหน้านางมีชายพก ค่าดเข็มขัดเพื่อความสะดวกอาจตัดเป็นชุดยาว คือเสื้อเปิดไหล่ข้างหนึ่ง ไม่มีแขน ตัดเย็บกับผ้านุ่ง แล้วห่มสไบทับหรือประยุกต์โดยจีบผ้าติดไว้ที่หัวไหล่ ทิ้งชายยาวแบบชายสไบก็งดงามดี

ชุดไทยจักพรรดิ์ คือชุดไทยสไบเฉียงที่มีความหรูหรามาก เพราะห่มสไบจีบซ้อนด้วยสไบทึบปักลวดลายวิจิตร ผ้านุ่งเป็นผ้ายกทอง จีบหน้านางมีชายพกขาดเข็มขัด พร้อมเครื่องประดับเต็มที่

ชุดไทยดุสิต ตัวเสื้อคอกว้างไม่มีแขน ใช้ผ้าไหมเลี่ยนปักเลื่อมลูกปัด ผ่าหลังหรือผ่าข้างผ้านุ่งจีบหน้านาง มีชายพกคาดเข็มขัด จะเย็บตัวเสื้อติดกับผ้านุ่งเพื่อความสะดวกก็ได้ เหมาะสำหรับงานกลางคืนอย่างงานราตรีสโมสร

ชุดไทยพระราชนิยมที่เจ้าสาวส่วนใหญ่แต่งในพิธีมงคลสมรส คือชุดไทยจิตรลดา ไทยบรม และไทยจักรี ส่วนงานฉลองตอนค่ำโดยมากมักสวมชุดแบบตะวันตกสีต่างๆ ไม่เน้นว่าต้องเป็นสีขาว แต่ถ้าจะให้หรู ก็ต้องเป็นฝีมือของนักออกแบบหรือดีไซเนอร์

นัดออกแบบรุ่นแรกเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ที่โด่งดังมากคือ ..ไกรสิงห์ วุฒิชัย ตามด้วยคุณวรชาติ ชาตะโสภณ คุณเรณู โอสถานนท์ คุณสิริลักษณ์ ศาสตราภัย คุณยศวดี บุญหลง นอกจากนั้น ยังมีโรงเรียนสอนตัดเสื้ออย่างดวงใจ ระพี พรศรี ที่ช่วยกันพัฒนาวงการแฟชั่นไทย ให้เข้าสู่ยุคเฟื่องฟู ซึ่งเริ่มต้นจากห้องเสื้ออมตะอย่างไข่ บูติก ห้องเสื้อธีรพันธ์ ดวงใจบิส ห้องเสื้อพิสิษฐ์ และห้องเสื้อพิจิตราซึ่งยังยืนยงมาจนทุกวันนี้

Link : ชุดไทยประยุกต์

อ้างอิงจาก : หนังสือ Wedding ฉบับเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์

Read more...

หมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้

หมั้นหมาย หลักประกันของรักแท้

ตามประเพณีไทยแต่โบราณ นิยมให้คู่รักทั้งหลายหมั้นหมา่ยกันสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแต่งงานกัน เพื่อให้ทั้งสองได้เรียนรู้ ศึกษานิสัยใจคอ และปรับตัวเข้าหากัน ก่อนแต่งงาน

สำหรับในปัจจุบันนิยมรวบวันหมั้น กับวันแต่งไว้ในวันเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และยังไม่ต้องรบกวน ให้แขกเดินทางหลายครั้งอีกด้วย

ในงานหมั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ขันหมากหมั้น เปรียบได้กับหนังสือสัญญา ระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย ส่วนเหตุที่ต้องใช้ หมาก เป็นตัวแทนของหนังสือสัญญาก็เพราะ ในสมัยก่อนหมากพลู เปรียบเสมือนสิ่งที่แสดงความเคารพ และเป็นของต้อนรับแขก เพื่อสื่อถึงความยินดีและแสดงออกถึงน้ำใจไมตรีที่มีต่อกัน ขันหมากแบ่งเป็น 2 ประเภท

1.ขันหมากเอก คือ ขันสำหรับใส่หมากพลู วางบนพานรองจะเป็นเงิน ทอง นาก ทองเหลือง หรือถมเงิน แล้วแต่ฐานะของฝ่ายชาย แต่ต้องจัดขันเป็นคู่ๆ ในขันหมากหมั้นประกอบด้วยหมาก 8ใบ ใบพลู 4 เรียง เรียงละกี่ใบก็แล้วแต่ ตกแต่งเพิ่มด้วยใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใบรัก ใบสวาด มีถุงแพรและถุงผ้าโปร่งบรรจุเมล็ดถั่วงา ข้าวเปลือก สื่อความหมายถึงความงอกงาม อุดมสมบูรณ์เรียงอยู่ในขัน ตกแต่งของทุกอย่างให้สวยงาม แล้วใช้ใบตองสานเป็นกรวยสูงครอบ จากนั้นห่อด้วยผ้าโปร่งสีทอง สีเงิน ผ้าแก้ว หรือผ้าลูกไม้ ตามฐานะของฝ่ายชาย เพื่อกันของในขันหล่นเสียหายเวลายกขบวนขันหมากไปบ้านฝ่ายหญิง

สำหรับของหมั้นที่ฝ่ายชาย ยกไปหมั้นฝ่ายหญิงนั้น ประกอบด้วย 2 อย่าง คือ สินสอด หรือที่โบราณเรียกอีกอย่างว่า ค่าน้ำนม ซึ่งเป็นเงินหรือสิ่งของที่ฝ่ายหญิงเป็นที่กำหนด นิยมเรียกให้สมฐานะของฝ่ายหญิง ยิ่งมากยิ่งเป็นหน้าเป็นตาว่าพ่อแม่ฝ่ายหญิงเลี้ยงดูลูกดี ฝ่ายชาย จึงยอมเสียสินสอดจำนวนมาก เพื่อให้ได้ลูกสาวบ้านนี้เป็นคู่ครอง ซึ่งในปัจจุบันเงินสินสอด ส่วนใหญ่พ่อแม่ฝ่ายหญิง มักจะมอบเป็นเงินก้นถุง เพื่อเริ่มต้นในการใช้ชีวิตคู่

ของหมั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือ ทองคำ ด้วยคุณค่าและราคาที่แสนแพงของทองคำ ทำให้เป็นที่นิยมใช้ในการหมั้นหมายมาตั้งแต่โบราณ จนเรียกกันติดปากมาถึงทุกวันนี้ว่า ทองหมั้น แต่ในปัจุบันอาจมีเครื่องประดับเพชรขึ้นมาก็ได้

สินสอดทองหมั้น จะวางในพานต่างหาก แยกกับพานขันหมาก จะมีกี่พานก็ได้แล้วแต่ฐานะ ของฝ่ายชาย ปัจจุบันนิยมมีพานแหวนหมั้นเพิ่มมากขึ้นอีกหนึ่งพาน พานทั้งสอง นิยมใช้ใบเงินใบทอง ใบนาคหรือใช้ดอกรักตกแต่งก็ได้ เพื่อสื่อถึง ความรักที่ฝ่ายชายมีต่อฝ่ายหญิง และถ้ามีการแต่งงาน วันเดียวกับวันหมั้น ต้องเพิ่มพานผ้าให้ไหว้บรรพบุรุษ และไหว้พ่อแม่ในขบวนขันหมากเอกด้วย

2.ขันหมากโท เป็นชื่อเรียกของเครื่องประกอบขันหมากที่อยู่ในขบวนขันหมาก ประกอบด้วยขนมมงคล 9 อย่างคือ จ่ามงกุฏ สื่อถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เสน่ห์จันทร์เพื่อความมีเสน่ห์และความเป็นที่รักแก่ผู้พบเห็น ขนนกงสำหรับความรักที่ยั่งยืน ขนมชั้นเพื่อความก้าวหน้าที่เป็นปึกแผ่น ขนมถ้วยฟูสื่อถึงการทำกิจการค้าเจริญรุ่งเรือง ฝอยทองเพื่อชีวิตที่ยืนยาว ทองหยิบ และทองหยอด สื่อถึง การหยิบจับ และหยิบวางอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง อย่างสุดท้าย คือเม็ดขนุน สื่อถึงการสนับสนุน จากคนรอบข้างเพื่อความก้าวหน้า ในบางครั้ง อาจมีลูกชุบเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง เพื่อสื่อถึงการมีลูกหลานสืบสกุล นอกจากนี้ยังมีต้นกล้วย และต้นอ้อยสื่อถึง ความหวานของชีวิตคู่ และการมาลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง

สำหรับของที่เพิ่มขึ้นในกรณีแต่งงานวันเดียว กับวันหมั้นก็คือ อาหารคาวที่ยังไม่สุก เพื่อใช้เป็น เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษ หลังจากเสร็จพิธีจึงนำของเหล่านี้มาทำเป็นอาหาร

ขบวนขันหมากหมั้น ที่ฝ่ายชายยกไปบ้านฝ่ายหญิง นำขบวนด้วยเถ้าแก่ของฝ่ายชาย ซึ่งนิยมใช้คู่สามีภรรยา ที่อยู่กินกันมาอย่างมีความสุข ตามด้วยพ่อแม่ฝ่ายชาย ถัดไปเป็นขันหมากเอก นิยมใช้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และยังไม่หย่า ต่อด้วยสินสอดทองหมั้น ที่นิยมใช้หญิงสาว ที่เป็นญาติพี่น้องมาช่วยถือ ตามด้วยพานขนมมงคล และปิดท้ายด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย

เมื่อขบวนขันหมากมาถึงหน้าบ้าน ลูกหลานของฝ่ายหญิงจะช่วยกันขึงเข็มขัดทอง เงิน นาคหรือสายสร้อยอื่นๆ มากั้นขวางไม่ให้ฝ่ายชายยกขบวนเข้าไปง่ายๆ เถ้าแก่ของฝ่ายชาย ต้องควักห่อเงิน ที่เตรียมไว้เป็นรางวัลค่าเปิดที่กั้นประตูก่อนจึงเข้าไปได้

เมื่อผ่านครบทุกประตูแล้ว จะมีเด็กสาว ของฝ่ายหญิง นำพานรับขันหมาก มาให้เป็นการต้อนรับขบวนของฝ่ายชาย ซึ่งในพาน จะประกอบไปด้วยหมากพลู บุหรี่หรือยาเส้น เถ้าแก่ของฝ่ายชาย เลือกของเพียงชิ้นเดียว ในพานมาเขี้ยวหรือรับไว้พอเป็นพิธี จากนั้นจึงนำขันหมาก ที่ตั้งในที่ที่ทางฝ่ายหญิงจัดเตรียมไว้ แล้วนำสินสอดทองหมั้นปิดท้ายด้วยการให้ฝ่ายชายสวมแหวนให้ฝ่ายหญิง

พิธีรับไหว้

หลังจากนับสินสอดทองหมั้น กันพอหอมปากหอมคอ และเสร็จจากการสวมแหวนแล้ว จึงเข้าสู่พิธีรับไหว้ ซึ่งเป็นประเพณี ที่แสดงถึงความคารวะนอบนอบ ต่อพ่อแม่และผู้ใหญ่ ่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ที่มีีีพระคุณ คู่หมั้นคู่หมายนำพานดอกไม้ธูปเทียนแพคลานเข้าไปกราบผู้ใหญ่โดย ไล่เลียงลำดับจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา จะแค่ก้มหัวยกมือไหว้กราบบนตักหรือ กราบบนเท้าก็ได้ จากนั้นส่งพานธูปเทียนแพให้พ่อแม่รับ ให้พร และมอบเงินก้นถุงแก่ทั้งคู่ ในสมัยโบราณหลังจากรับพร จากพ่อแม่แล้วคู่หมั้น อาจมอบผ้าไหมให้แก่พ่อแม่ตัดชุดสำหรับ ใส่ในวันแต่งงานด้วย

พิธีสงฆ์

ตามธรรมเนียมโบราณเมื่อถึงวันงาน บ่าวสาวจะต้องร่วมกันตักบาตรตอนเช้าก่อนโดยนิยม ให้คู่บ่าวสาวตักบาตร ด้วยทัพพีเดียวกันด้วยความเชื่อที่ว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน และจะได้เกิดมา เป็นคู่กันทุกชาติ และมีความเชื่อว่า ถ้าฝ่ายใดจับทัพพีเหนือกว่า จะเป็นใหญ่หรือมีอำนาจมากกว่า วิธีแก้เคล็ดคือ ให้ผลัดกันจับจะได้มีชีวิตคู่ที่อยู่บน ความเท่าเทียมและช่วยกันประคองกันไปตลอด

แต่ในปัจจุบันนี้มีการดัดแปลง เรื่องของพิธีสงฆ์บ้างเพื่อให้ประหยัดเวลา และสะดวกแก่คู่บ่าวสาว ด้วยการนำพระสงฆ์มาสวด เจริญพระพุทธมนต์ที่บ้านเพื่อให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว

หลังจากพิธีรับไหว้ บ่าวสาว่ร่วมกันจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธ จากนั้นอารธนาศีล รับศีล พระสงฆ์สวดให้พรบ่าวสาว จากนั้นบ่าวสาวช่วยกันถวายอาหารแด่พระพุทธ แล้วประเคนอาหารแด่พระสงฆ์ หลังจากนั้นพระสงฆ์สวดเพื่อทำน้ำมนต์ บ่าวสาวร่วมกันกรวดน้ำ ถวายไทยธรรมจากนั้นพระสงฆ์เดินทางกลับ

การนิมนต์พระมาสวดพระพุทธมนต์ เมื่อนับพระประทานแล้วต้องเป็นจำนวนคู่อย่างเช่น พระสงฆ์ 3 รูป รวมพระประทานด้วยเป็น 4 หรือพระสงฆ์ 9 รูปรวมพรประทานด้วยเป็น 10

รดน้ำสังข์

พิธีรดน้ำสังข์เปรียบได้กับ การอวดพรความสุข แก่คู่บ่าวสาว โดยใช้น้ำมนต์จากพระสงฆ์จาก การสวดพระพุทธมนต์ช่วงเวลาของ การรดน้ำสังข์ไม่จำเป็นต้องทำหลังจากการสวด พระพุทธมนต์เสมอไป เพราะหลักใหญ่ใจความ ของการรดน้ำสังข์อยู่ที่น้ำมนต์ที่รดใส่มือบ่าวสาวพร้อมคำอวดพรจากผู้ใหญ่ ดังนั้นจะเก็บพิธีนี้ไว้ในช่วงเย็นก่อนงานเลี้ยงก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดประเพณีแต่อย่างใด แต่เพื่อความสะดวก และความเป็นศิริมงคลมักนิยมทำต่อจากพิธีสงฆ์หลังจาก พระสงฆ์์ื์ฉันภัตตราหารเสร็จและคู่บ่าวสาวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแล้วโดยให้พระสงฆ์ผู้เป็น ประธานเจิมหน้าผากให้ฝ่ายช่ายก่อนแล้วจึงจับมือฝ่ายชายจุ่มแป้งแล้วจับมาเจิมหน้าผากของ ฝ่ายหญิงอีกทีหรือถ้าจัดพิธีรดน้ำสังข์ตอนเย็นให้พระเจิมหน้าผากก่อนท่านกลับก็ได้จากนั้น ให้บ่าวสาวนั่งบนตั่งรดน้ำที่จัดไว้ฝ่ายหญิงนั่งทางซ้าย่ของฝ่ายชายสวมมงคลแฝดให้บ่าวสาว คนละข้างจัดเพื่อนสาว ที่ยังโสดและมีโครงการจะแต่งงาน ในเร็ววันมายืนอยู่ข้างหลังเป็นกำลังใจ
จริงๆ แล้วเรื่องเพื่อนบ่าวสาว เป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ต้องการ ให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังแต่งงานได้มีโอกาสศึกษาวิธีปฏิบัติของการจัดงานแต่งงาน เมื่อถึงวันของตัวเองจะได้ทำถูกและไม่เคอะเขิน

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะอวยพรและรดน้ำสังฆ์แก่บ่าวสาวได้ต้องเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่าบ่าวสาวเท่านั้นโดยให้เกียรติพ่อแม่ฝ่ายหญิงเป็นคนรดน้ำสังฆ์ก่อน คำอวยพรที่นิยมกันมากขณะรดน้ำสังฆ์คือ ขอให้อยู่กันจดแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง เวียนจดครบหมดทุกคนแล้วจึงเสร็จพิธี จากนั้นต่อด้วยงานเลี้ยงฉลอง

พิธีปูที่นอนและส่งตัวเข้าหอ

เป็นพิธีที่โรแมนติกและประทับใจที่สุดในขั้นตอนการแต่งงานเพราะเป็นพิธีสุดท้าย และเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของคู่แต่งงาน ส่วนใหญ่กฤษ์ของพิธีจะเป็นเวลากลางคืน จึงมักทำหลังงานเลี้ยงฉลอง

เริ่มจากคู่สามีภรรยาที่แต่งงานอยู่กินกันมาจนแก่เฒ่า มีฐานะดี มีลูกหลานดีเลี้ยงง่าย อยู่ในโอวาท และยังไม่มีใครเสียชีวิตมาปูที่นอน จัดหมอน จัดผ้าห่ม และจัดวางสิ่งขอวที่เป็นมงคลสำหรับการใช้ชีวิตคู่บ่าวสาว ตามคติคำอวยพรจากโบราณที่ว่า ขอให้เย็นเหมือนฟักหนักเหมือนแฟง ให้อยู่ในเรือนเหมือนก้อนเส้า (หินบดยา) เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว ซึ่งประกอบด้วยหินบดยา ฟักเขียว แมวตัวผู้สีขาวทาแป้งและเครื่องหอมไว้ทั้งตัว ปัจจุบันใช้เป็นตุ๊กตาแมวสีขาวก็ได้ นอกจากนั้นมีถั่ว งา ข้าวเปลือก อีกอย่างละหยิบมือห่อใส่พาน วางบนเตียง เมื่อถึงฤกษ์ที่กำหนดไว้ให้ทั้งสองขึ้นไปนอนบนเตียง ให้ฝ่ายหญิงนอนทางซ้ายของฝ่ายชายทำท่าหลับแล้วตื่นขึ้นมาว่าฝันดีอย่างนู้นอย่างนี้ พูดถึงแต่เรื่องดีเป็นมงคลแล้วลงมาจากเตียง

จากนั้นเป็นขั้นตอนของการส่งตัวเจ้าสาวโดยพ่อแม่ของฝ่ายหญิงพาลูกสาวไปส่งให้ฝ่ายชายในห้อง แล้วพูดฝากฝั่งให้ดูแลลูกสาวตนและอบรมให้ลูกสาวเป็นแม่บ้านแม่เรือน จากนั้นพ่อแม่ฝ่ายชายเข้ามาอบรมให้เป็นพ่อบ้านพ่อเรือนดูแลภรรยาให้ดีมีความสุขจากนั้นพากันออกจากห้อง ปล่อยให้บ่าวสาวอยู่ในห้องตามลำพังจนถึงเช้า

อ้างอิงจาก : หนังสือ We ฉบับวันที่ 20-24 มิถุนายน 2550

งานแต่งงาน พิธีมงคลสมรส

Read more...

หลักการจัดตู้ปลา

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หลักการจัดตู้ปลา
องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา

1.ตู้ปลา ที่นิยมมี 2 แบบ

1. แบบทรงกลม

2.ตู้ปลาแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

1.ตู้ปลาแบบมีกรอบเป็นตู้ปลาแบบรุ่นเก่าทำด้วยกรอบอลูมิเนียมใช้ชันอุดตามรอยรั่วกันน้ำรั่วซึม

2.ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ นำกระจกมาต่อกันโดยใช้กาาวซิลิโคนเป็นตัวประสานเข้าด้วยกัน

2.ฝาปิดตู้ปลา

ทำด้วยพลาสติก ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำและป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก

3.เครื่องปั๊มอากาศ

การใช้เครื่อง

1.ควรติดตังให้สูงกว่าตัวปลา เพื่อให้สะดวกในการดันอากาศ

2.การติดตั้งเครื่องปั๊มอากาศ ควรให้ห่างจากฝุ่นละออง เพราะฝุ่นละอองอาจทำให้เสียหายได้

อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องปั๊มอากาศ

1.สายออกซิเจน ต้องหาและไม่มีรอยรั่ว

2.หัวทราย มีลักษณะเป็นทรงกลม มีรูพรุน ทำหน้าที่ให้อากาศเป็นฟองฝอยเล็กๆ เพื่อให้ออกซิเจนสามรถละลายน้ำได้ดี

3.ข้อต่อ เป็นตัวแยกอากาศจากเครื่องปั๊มไปในทิศทางที่ต้องการ

4.วาวล์ควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณอากาศที่ออกมาจากเครื่องปั๊ม ให้ออกมาตามความเหมาะสม

4.ระบบการกรองน้ำ มี 2 แบบ คือ

1.ระบบการกรองภายในตู้ปลา

1.แบบกรองน้ำใต้ทราย

ส่วนประกอบ

แผ่นกรอง ต้องเหมาะกับลักษณะของตู้ปลา มีรูพรุนเล็กๆ สูงจากพื้ตู้ประมาณ 2-3 ซ.ม.

ท่อส่งน้ำ ทำงานร่วมกับแผ่นกรอง สามารถปรับทิศทางของน้ำที่พ่นออกมาให้ได้ตามต้องการได้

สายอากาศ เป็นสายทางเดินอากาศที่ต่อมาจากท่อปั๊ม

ระบบการทำงาน

เครื่องปั๊มอากาศจะอัดอากาศส่งไปตามสายอากาศที่เชื่อมระหว่างเครื่องปั๊มอากาศกับหัวครอบ แผ่นกรองใต้ทรายเมื่ออากาศถูกดันออกมาตามท่อส่งน้ำที่ถูกพ่นออกมาจะไหลเวียนเข้าไป อยู่ใต้แผ่นกรอง ขณะเดียวกันน้ำที่อยู่เหนือแผ่นกรองและพวกสิ่งสกปรกก็จะถูกดูดลงไปแทนที่ ทำให้น้ำใสสะอาดอยู่เสมอ

2.ระบบการกรองแบบกล่องใต้ตู้ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก การทำงานคล้ายระบบการกรองน้ำใต้ทราย ต่างกันเพียงระบบการกรองจะมีกล่องแยกต่างหาก ภายในกล่องกรองจะใส่ใยแก้วและถ่านคาร์บอน ข้อดีก็คือ สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ด้วย

2.ระบบการกรองภายนอกตู้ปลา ประสิทธิภาพในการกรองจะเหนือกว่าระบบการกรองที่กล่าวมาแล้ว สามารถกรองเศษอาหารปลา มูลปลา กลิ่น สี ออกนอกตู้ปลาได้ดี อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กรอง คือ ถ่านคาร์บอน และใยแก้ว

5.พันธุ์ไม้น้ำ หลักในการเลือกมีอยู่ 2 ประการ คือ

1.พิจารณาว่าพันธุ์ไม้พันธุ์นี้ชอบแสงสว่างหรือไม่

2.พิจารณาว่าพืชชนิดนี้มีความต้องการดินหรือกรวดในการยึดรากหรือไม่

6.กรวด เป็นวัสดุที่ตกแต่งให้ตู้ปลาดูเป็นธรรมชาติ กรวดที่ควรมีขนาด 3 มม. ไม่ควรละเอียดและหยาบเกินไป

7.น้ำ ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำประปาที่ผ่านการกับไว้เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไป

8.ตอไม้ ต้องเลือกตอไม้ชนิดแข็งเพราะ ถ้าใช้ตอไม้ชนิดอ่อนจะทำให้ตอไม้เปื่อยยุ่ยและเน่าได้ ซึ่งตอไม้มีประโยชน์ช่วยให้ทัศนียภาพสวยงามดูคล้ายธรรมชาติ

ก่อนที่จะนำตอไม้มาประดับตู้ปลาควรต้มน้ำยางที่ตกค้างอยู่ในเนื้อไม้ให้ออกเสียก่อน

9.เปลือกหอย สามารถตกแต่งทัศนียภาพในตู้ปลาของคุณให้ดูเป็นธรรมชาติ ก่อนที่จะนำมาประดับตู้ปลานั้นขอแนะนำให้นำมาแช่น้ำเพื่อให้ความเค็มหายไปเสียก่อน

10.สิ่งประดิษฐ์บางชนิด

แผ่นภาพวิว จะประกอบด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด

หุ่นพลาสติกอย่าใช้หุ่นพลาสติกที่สีสามารถตกหรือลอกเป็นอันขาดเชียวนะเพราะอาจทำอันตราย แก่ปลาน้อยๆที่น่ารักของคุณได้

Read more...